ถอดรหัสสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)

       เมื่อกล่าวถึงสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ภาพแรกที่เพื่อนๆนึกขึ้นมาได้ก็คือ ใช้ได้ไม่นาน ผิวแตกเร็ว แข็งเร็ว แต่ราคามันแพง แพงกว่าสายพานแบบทนสึกธรรมดา 30-100% นั่นก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่จะหาแหล่ง Supply ที่สามารถไว้วางใจในคุณภาพได้อย่างไร เป็นเรื่องที่หนักใจสำหรับผู้ใช้พอสมควร แต่อย่างไรก็ตามถ้าจำเป็นต้องใช้มันก็ต้องซื้อ แต่คุณภาพล่ะ เราจะประเมินรู้ได้อย่างไรว่ามันได้คุณภาพตามที่เราคาดหวังหรือเปล่า อันนี้เป็นเรื่องที่เราจะมาทำความเข้าใจกันในบทความนี้

  ใน Brochure ของแต่ละผู้ผลิตก็กล่าวอ้างกันว่าสายพานทนร้อน                            (Heat Resistant Conveyor Belt) ของตนเองนั้นดีเลิศทุกครั้งไม่มีใครยอมน้อยหน้าใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเพื่อนๆเจอผู้ขาย (Sale Man) สายพานประเภท Sale Oriented ที่มาพร้อมกับความมุ่งมั่นว่าต้องขายให้ได้อย่างเต็มที่ แต่ความรู้ด้านเทคนิคไม่เพียงพอที่จะ ให้ความรู้(educate )ลูกค้าได้  อย่างหมดข้อสงสัย แต่ลูกล่อลูกชนการขายมีเพียบ ผู้ซื้ออยากได้อะไรก็บอกไป sale จัดให้ จัดหนักได้หมด แบบว่าโลกสวย Say Yes รับปากได้ทุกเรื่องทุกราว Guarantee ทุกเงื่อนไขการใช้งาน (ทำได้จริงหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) เพียงเพื่อปิดงานขายรับค่าคอม ปัญหาเอาไว้แก้หลังเป็นปัญหาที่เจออยู่เป็นประจำ ถ้าเป็นสายพานทนสึกแบบธรรมดา(Wear Resistant) โอกาส Sale จะรอดตัวก็มีอยู่สูงเพราะยังไงก็ใช้งานได้แน่ ความเสียหายไม่เด่นชัดโดยเร็ว เพราะ case การใช้งานมันไม่สุดโหดหรือ ไม่ Serious การพิสูจน์ต้องใช้เวลาเพราะสายพานผิวจะค่อยๆสึกกินเวลาพอสมควร  แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)  งานเข้าแน่นอน เพราะในโลกแห่งความจริงปัญหาจะมีเยอะกว่าสายพานทนสึก ความคาดหวังของลูกค้ากับคุณภาพของสินค้ามีอยู่สูง แต่มันมักไม่สอดคล้องกันกับคุณภาพที่ sale บอกไว้ (โม้มากเกินความเป็นจริง)  จนทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าสิ่งที่นำเสนอนั้นมันมีคุณภาพตามนั้นจริงๆ ตามคำพูดนั้นทั้งๆที่ Technology ที่ใช้ผลิตสินค้านั้นยังไม่สามารถผลิตให้ได้คุณภาพเหมือนกับที่ Sale กล่าวอ้างเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) เป็นเรื่องของงานคุณภาพที่ต้องมี  R & D มาเกี่ยวข้องค่อนข้างสูง ถ้าโรงงานผลิตเล็กๆไม่มีการทำ  R & D ก็ยากที่จะผลิต สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ที่มีคุณภาพที่ดีได้

 

 

 

 

 

 

          บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd.) ได้พูดคุยกับลูกค้าหลายรายที่ใช้สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) พบว่าหลังจากที่ใช้งานสายพานที่ไม่ได้คุณภาพที่ดีพอ     3 เดือน 6 เดือน ก็เห็นผลแล้ว ความเสียหายเป็นรอยแตกจะปรากฏ ปัญหาที่ตามมาก็คือ ผู้ซื้อก็ต้องการเรียกร้องความรับผิดชอบของผู้ขายตามที่ได้คาดหวังไว้ตอนก่อนซื้อ ผู้ขาย Sale (โลกสวย) ก็บอกว่าตอนที่คุยกันนั้นไม่ได้หมายความตามที่ผู้ซื้อเข้าใจ ไม่น่าแปลกใจแต่ประการใดที่ความคาดหวังทั้ง 2 ฝ่ายจะมีช่องว่างห่างกัน จะโทษใครก็คงไม่สามารถโทษเต็มที่ได้ 100 % เนื่องจากขณะที่คุยกันก่อนซื้อ ต่างฝ่ายก็ต่างมีความรู้และข้อมูลพื้นฐานที่แตกต่างกันเรียกว่าเป็นข้อมูลคนละชุดก็ได้ แม้ว่าจะนอนเตียงเดียวกันแต่ฝันคนละเรื่อง ดังนั้นจินตนาการเรื่องเดียวกันก็ต้องแตกต่างกันไปด้วยจึงเป็นเรื่องปกติ  จึงมีความจำเป็นมากที่ทุกๆฝ่ายจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องในระดับเดียวกัน มีข้อมูลชุดเดียวกัน ก่อนถึงจะคุยกันรู้เรื่องเพื่อให้ความคาดหวังของแต่ละฝ่ายบรรลุ อย่างไม่ต้องมาถกเถียงกันเรื่องคุณภาพหลังการขายอีกต่อไป

 

          ข้อมูลที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd.) นำเสนอเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆทุกคน โดนเฉพาะถ้าเพื่อนๆอยู่ฝ่ายผู้ซื้อถ้าอ่านเข้าใจจริงๆ ก็จะพัฒนาให้ฝ่ายผู้ขาย (Sale man) ต้องมีความรู้จริง หากไม่มี ต้องรับศึกหนัก ตอบคำถามไม่ได้ อาจรับเละ หน้าแตกกลับไปศึกษาข้อมูลแล้วมาใหม่ ก็เป็นได้ ขณะที่ผู้ขายก็ต้องหาโอกาสเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า หรือผู้จ่ายเงินให้เรา เลือกของที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับการใช้งานที่สุด อย่างนี้ สังคมของเราจะอยู่กันได้ยาวนานเพราะทุกฝ่ายต่างก็พยายามมอบสิ่งดีๆ ให้แก่กันและกัน

          ต่อไปนี้เป็นประสบการณ์ที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd.) ได้พบเห็นมาและเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็อดไม่ได้และยินดี ที่จะนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้รู้โดยทั่วกัน

  1. เมื่อไหร่ถึงจะพิจารณาใช้สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)

   

สภาพอย่างนี้ อุณหภูมิเกิน 70 องศาเซลเซียสแน่นอนต้องใช้สายพานทนร้อน

 

          ในการเลือกใช้สายพานทนสึกแบบธรรมดา(Wear Resistant) มีหลักการง่ายๆนั่นคืออุณหภูมิที่ผิวหน้าของสายพาน (Belt Surface) ต้องใกล้เคียงกับอุณหภูมิของบรรยากาศปกติ (Ambient Temperature)* แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าบรรยากาศปกติก็ให้พิจารณาใช้สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co., Ltd.) ได้สืบค้นข้อมูลจากหลายๆแหล่งพบว่า ผู้ผลิตหลายรายต่างก็ให้ความเห็นที่ใกล้เคียงกันว่า ถ้าการลำเลียงนั้นทำให้ผิวสายพานมีความร้อนต่อเนื่อง 60-70 องศา Celsius (วัดที่ผิวสายพาน) ก็แนะนำให้ใช้สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ได้แล้ว แต่สำหรับผู้ใช้งานอย่างเราๆอาจจะมีความยุ่งยากเกี่ยวกับการไปวิเคราะห์อุณหภูมิว่ามันอยู่จุดไหนกันแน่ แนะนำคิดแบบง่ายๆว่า ถ้าวัสดุของเรามีอุณหภูมิ 80 องศา Celsius ใช้สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) จะคุ้มค่ากว่าใช้สายพานทนสึกหรอแบบธรรมดา แต่ถ้าอ่านบทความนี้จบแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจและประยุกต์เลือกสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ได้อย่างมั่นใจแน่นอนไม่ต้องเดา

 

 

2. อุณหภูมิอะไร? วัดที่ไหน? ถึงเวลาต้องทำความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น

          เมื่อพูดถึงอุณหภูมิสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) เรื่องที่ต้องทำความกระจ่างเป็นอันดับแรกก็คือเรื่องอุณหภูมินี่แหละ ผู้ใช้งานเวลาจะสั่งซื้อสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ก็มักจะบอกกับผู้ขายง่ายๆดังนี้ว่า อยากได้สายพานทนร้อน 300°C หน่อยมีขายมั๊ย ผู้ขายประเภท Yes ตลอดก็จะตอบว่า “มี” ไม่เคยปฏิเสธเลยไม่ว่าผู้ซื้อจะบอกระดับอุณหภูมิสักเท่าไหร่ 120°C, 200°C, 500°C มีตลอดแต่ตอนส่งสินค้าไม่รู้ว่าเอาคุณภาพไหนมาส่งให้ ผู้ซื้อก็ตรวจสอบไม่ได้ หรือไม่คุ้มค่าที่จะส่งห้องทดลองทำการตรวจสอบ สุดท้ายก็ไม่สามารถเติมเต็มความคาดหวังของทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจอันดีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องจูนข้อมูลให้synchronize สอดคล้องเป็นชุดเดียวกันก่อนดีกว่านะครับ

 

          เมื่อเราพูดถึงสายพานทนความร้อนได้ 100°c อุณหภูมิที่เราหมายถึงคืออุณหภูมิของเนื้อสายพานเองต้องสามารถทนความร้อนได้อย่างต่อเนื่อง(เน้น คำว่าอย่างต่อเนื่อง) ถึง 100 องศาแล้วสายพานไม่เสียหาย อุณหภูมินี้ต้องวัดที่ผิวของสายพานที่ Discharge Pulley นะครับ ขณะที่อุณหภูมิของวัสดุที่ลำเลียง  (ซึ่งจะอยู่บนสายพานในช่วงระยะเวลาหนึ่งแค่ชั่วคราว ) อาจจะมีค่าสูง 200°c ,300°cหรือ 400°c  ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน แต่อุณหภูมิที่ของเนื้อสายพานระหว่างบรรทุกวัสดุต้องไม่เกิน 100 องศาอย่างนี้สายพานรับงานได้ เรายังสามารถใช้สายพานโดยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดแต่อย่างไรก็ตามสายพานจะค่อยๆเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งานซึ่งเป็นปกติ

 

   

 

 

          ดังนั้นผู้ซื้อ และผู้ขายต้องเข้าใจให้ตรงกันให้ชัดว่าอุณหภูมิที่คุยกันนั้นหมายถึงอุณหภูมิของวัสดุลำเลียงหรืออุณหภูมิของสายพานที่ทนได้ กรณีที่ยกตัวอย่างนี้ หากผู้ซื้อต้องการสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ที่ 300°C จริงๆ แล้วผู้ขายก็จัดหามาให้ได้จริงๆ (ที่ฟังจากปากลูกค้ามาผู้ขายก็มักจะรับปากเช่นนี้) ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับผู้ขายที่ปิดการขายได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียใจสำหรับผู้ซื้อเพราะเท่าที่ทราบยังไม่มี Technology ในปัจจุบันที่สามารถผลิตสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ที่มีคุณภาพผิวสายพานทนร้อนได้ถึง 300°C ได้

 

  1. สายพานทนร้อนจะถูกหรือแพงอยู่ที่คำพูด (ข้อมูล) จากผู้ซื้อที่ให้กับผู้ขาย In Put เป็น อย่างไร Out Put ก็จะเป็นอย่างนั้น

          บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co., Ltd.) พบเสมอว่าข้อมูลที่ได้จากผู้ซื้อ อาจจะเป็นจากผู้ใช้งานฝ่ายบำรุงรักษา จากฝ่ายจัดซื้อ หรือจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง มักจะเป็นข้อมูลที่บอกอุณหภูมิสูงเกินจริงเผื่อไว้เสมอ นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ อาจจะเป็นเหตุผลของคนทำงานที่ต้องการเผื่อความปลอดภัยเพื่อ Save ตัวเองประการหนึ่ง หรือไม่ต้องการให้เกิดปัญหาหน้างานจากการซื้อสายพานครั้งก่อนแล้วคุณภาพไม่เป็นที่น่าพอใจเลยต้องบอก spec เวอร์ๆเอาไว้ก่อน แน่นอนผลจากข้อมูลเวอร์ๆ ที่ผู้ขายได้รับ ผู้ขายที่มักง่ายก็จะจัดหนักตามข้อมูลที่ได้รับมา ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงราคาที่ต้องสูงเวอร์ๆแน่นอน ทนร้อนได้สูงมากเท่าไหร่ราคาก็สูงมากขึ้นเท่านั้น และราคาไม่ได้เป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นซะด้วย เช่น

 

 

 

 

 

ขอยกตัวอย่างของจริง เรื่องจริง

          ข้อมูล Copyจาก Mail ของลูกค้า : บริษัท xxxxxx จำกัด มีความประสงค์จะขอราคาสายพานลำเลียง(ยาง) แบบทนร้อน 300°C  ปัญหาสายพานเส้นเดิมที่มีการใช้งานอยู่นั้น คือ ผิวยางด้านบนแตกหลุดออก   สายพานลำเลียง 30" EP630/3,- หนาบน 6 mm.,- หนาล่าง 4 mm.,- ทนร้อน 220-300°C ( เกรดทนความร้อนสูง),หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมรบกวนติดต่อคุณ  xxxxx 081-731-5xxx หรือ 089-90x-xxxx

 

 

 

 

 

                            ข้อมูลที่เห็นเมื่อดูจากหน้างานจริง :  เมื่อเดือน ตุลาคม 2557 นี้บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co., Ltd.) ได้ไปดูหน้างานและนี่คือคำแนะนำและข้อสังเกตที่เราให้ลูกค้า 

          1. This is a belt conveying hot chemicals with a size between a “ping pong ball” and a “tennis ball” (J) at a temperature of 120°C degrees (peak). เราพบว่าวัสดุมีอุณหภูมิประมาณ 120oC แต่ลูกค้าแจ้งว่าอยากได้สายพานทนร้อน 300°C

       2. We are very reluctant to offer you the belt under this specification (heat resistant peaks up to 300 degrees).After visiting the site and looking at the system operating in detail, it looks like this specification will not deal in the best matter with the given situation.เราไม่พบว่ามีวัสดุที่มีอุณหภูมิสูงถึง 300°C ดังนั้นการเสนอราคาใน specification ดังกล่าว ( 300°C) จึงไม่เหมาะสมทั้งด้านงบประมาณและการใช้งานที่ถูกต้อง

          3. We did not observe material at the temperature of 200 degrees and peaks up to 300 degrees Celsius. On top of that, seen the lump size of the material, you can expect that the belt temperature will be even lower. In the situation we have observed the belt a heat resistance of 120 degrees, peak up to 150 degrees should be suitable.

          4. At the other side, we could observe that the belt is subject to high impact. This might cause the cracks and the peeling off of the top cover at different areas. It is recommended to test the hardness of the belt in order to understand if heat or impact is the main reason for the cracks and peeling off of the material on the top cover.

 

 

 

 

          5.  Important in this case is in our opinion to upgrade the chute by adapting the support of the belt at the place of impact to reduce the impact energy. Furthermore a better design of the chute to have a “softer” loading the material to the conveyor belt is strongly recommended.

          6. We have the intention to provide high quality belts meeting the requirements of the applications they are used for. Over dimensioning in one way (like too high heat resistance if not needed) will bring new technical issues and are from an economical (financial) point of view not acceptable. Therefore, in this case, we suggest to offer EP 630/3 8+2 MX (temp 120 degrees, peaks up to 150 degrees) 750 mm wide and also strongly recommend to improve the load system on the belt

          The combination of both, belt and improved loading on the belt of the material should increase dramatically the life time of the belt.

          I trust that this information is useful for you and look forward to hear your feedback!

 สรุป:เพื่อที่ให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์อย่างคุ้มค่า

          1.ผู้ใช้งานต้องบอกข้อมูลตามจริง อย่าเผื่อให้มาก หากผู้ขายมีความรู้และมีจริยธรรมเขาจะสามารถวิเคราะห์และให้คำแนะนำได้ถูกต้องผู้ซื้อได้สายพานที่เหมาะสมทั้งราคาและการใช้งานที่ถูกต้อง

          2. ผู้ขายควรเข้าไปสำรวจหน้างานจริงๆ อย่าเดา เพราะสายพานสามารถเสียหายได้หลายกรณี เช่นจาก ความร้อนสูง จากการกระแทกของวัสดุ หรือจากทั้งสองสาเหตุหรือมากกว่ารวมกันก็ได้ กรณีสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ต้องถือว่าเป็นกรณีพิเศษ เพราะสายพานเสียหายได้ง่ายหากเลือก specification ไม่ถูกต้อง และที่สำคัญคือราคาสูงครับต้องใช้ให้คุ้มค่า

 

  1. สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) กับความหนาของสายพาน

          สายพานทนร้อนจะใช้งานได้ยาวนานขนาดไหน นอกเหนือจากเลือก Rubber compound ให้ถูกต้องแล้ว ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนคือ TOP cover สรุปง่ายๆได้ว่า Top cover หนาจะมีอายุการใช้งานได้มากกว่าสายพานที่มี Top cover บางกว่า ยิ่งหนามาก สายพานก็จะใช้งานได้ยาวนาน มากเท่านั้น เนื่องจากความหนาของสายพานจะเป็นฉนวนป้องกันไม่ให้ความร้อนไปทำลายโครงสร้างของผ้าใบ เมื่อโครงสร้างของผ้าใบ ไม่มีปัญหา  ผ้าใบสายพานจะไม่กรอบหรือแยกชั้นไปจากกัน(ผ้าใบEP จะกรอบและเสื่อมคุณภาพที่อุณหภูมิ สูงประมาณ 120°C)  สายพานจะไม่ขาดขณะใช้งาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ซื้อจะต้องประเมินความคุ้มค่าของราคาและความหนาที่เพิ่มขึ้นด้วยตนเองจากประวัติเก่าๆที่เคยใช้มา จากพฤติกรรมการใช้งานของโรงงาน เนื่องจากไม่มีใครรู้สภาพหน้างานเท่าผู้ใช้งาน ข้อแนะนำ สายพานทนความร้อนน่าจะมีความหนามากกว่าสายพานทนสึกสัก 2-3 มม.

 

5. ISO 4195 มาตรฐานการทดสอบสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)

          มาตรฐานการทดสอบสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) มีหลายมาตรฐาน เช่น UNI,BS,DIN,NF,RMA,ASTM เพราะแต่ละค่าย ต่างคนต่างใหญ่ ไม่มีใครยอมใคร จึงใช้มาตรฐานของใครของมัน เป็นผลทำให้พวกเราที่ความรู้น้อยอยู่แล้ว งงหนักเข้าไปอีก เพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd.) จะขอยกขึ้นมาแชร์เพียง 1 ตัวอย่างเฉพาะ มาตรฐาน ISO 4195  ให้เพื่อนๆมีความรู้เบื้องต้นพอสังเขป ใครสนใจก็หาเพิ่มเติมกันเองในได้ใน Google  โดยแต่ละมาตรฐานก็จะมีหลักการคล้ายกันแตกต่างเล็กน้อยในรายละเอียด

 

 

          การทดสอบ ทำโดยแบ่งตัวอย่างออกไปทดสอบ เป็น 3 ระดับ (classes) ความร้อน  พูดง่ายๆคือการทดลองนี้จุดประสงค์คือต้องการทราบคุณสมบัติของผิวสายพานเมื่อสัมผัสความร้อนนานๆ ว่าจะเป็นอย่างไร โดยแบ่งประเภทผิวสายพานให้สัมผัสกับความร้อนเป็น 3 ระดับ คือประเภททน ร้อนน้อย-ร้อนปานกลาง-ร้อนมาก ตามลำดับ

 

 

          วิธีการทดลองคือเอาตัวอย่างของผิวสายพานเข้าเตาอบ ที่อุณหภูมิ 100°C, 125 °C, 150 °C เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นก็จะวัดค่า การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผิวสายพานเปรียบเทียบกับคุณสมบัติที่ยังไม่ถูกความร้อน ( Initials Value) ค่า Parameter ที่นำมาเปรียบเทียบมี 3 ตัวคือ

  •   1.ค่าความแข็งของผิวสายพาน ( Hardness)
  •   2.อัตราการยืดตัวจนขาดผิวสายพาน (Elongation at Break)
  •   3.แรงดึงของผิวสายพาน (Tensile Strength)

          ผลเปรียบเทียบคุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผิวสายพานที่ ISO 4195 ยอมให้เกิดขึ้นได้ตามตารางข้างล่างนี้

 

 

          สิ่งที่ผู้ซื้อต้องรู้เมื่อซื้อสายพาน ประเภททน ร้อนน้อย-ร้อนปานกลาง-ร้อนมาก เราต้องดูค่าอะไรบ้างและแต่ละค่ามีค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ มาก-น้อย อย่างไร ตามลำดับ ยกตัวอย่างสัก 1 เรื่องเพื่อให้เพื่อนๆเข้าใจดีขึ้น (ให้ดูตารางข้างบน) สมมุติว่า เราซื้อสายพาน Class 1 ทนร้อน 100°C  หลังจาก test แล้วคุณสมบัติของสายพานต้องอยู่ในกรอบนี้คือ

          1.ความแข็งของผิวสายพาน ( Hardness) หลังจากเข้าเตาอบแล้ว 7 วัน ต้องไม่แข็งมากกว่า สายพานเดิม(ที่ไม่ได้เข้าเตาอบ) เกิน 20 Shore A เช่น สายพานเดิม(ที่ไม่ได้เข้าเตาอบ) แข็ง 60 Shore A ความแข็งของผิวสายพาน ( Hardness) หลังจากเข้าเตาอบแล้ว 7 วัน ต้องไม่แข็งมากกว่า 60+20 = 80 Shore A

          2. และต้องมีความแข็งไม่เกิน 85 Shore A กรณีนี้ วัดความแข็งได้ 80Shore A น้อยกว่า 85 Shore A ถือว่า ผ่านมาตรฐานสายพานทนร้อนที่อุณหภูมิ 100°C

          ส่วนกรณีอื่นๆเพื่อนๆ ลองค่อยๆศึกษารายละเอียดParameter ตัวอื่นๆ ดูเองนะครับ เกรงว่าถ้าต้องอธิบายเรื่องนี้อย่างละเอียดคงต้องใช้เวลาอีกนานเราเป็นแค่ผู้ใช้งานเอาความเข้าใจในหลักการก็น่าจะเพียงพอที่จะหากินได้

          แถมอีกสักหน่อย ลองศึกษาตารางข้างล่างนี้เป็นมาตรฐาน DIN ซึ่งตารางเป็นของผู้ผลิตสายพานรายอีกหนึ่งว่าตารางที่ให้มาเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ISO 4195 มีส่วนเหมือนส่วนต่างอย่างไร

 

 

 

  1. เมื่อไหร่ถึงเวลาเปลี่ยนสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)

          หลักการแบบกำปั้นทุบดินก็คือ เราจะเปลี่ยนสายพานก็ต่อเมื่อ เรามาทำความเข้าใจขยายคำว่าใช้งานไม่ได้ว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีใครให้ความกระจ่างชัดได้ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co., Ltd.) ก็ขอกำหนดเองเพื่อให้เพื่อนๆใช้เป็นข้อพิจารณาได้ง่ายขึ้น เช่นสายพานแข็งเกินไป มีรอยต่อมากเกินไป ผิวหน้าเยินเกินไป หรือเสี่ยงเกินไปที่จะใช้งานต่อไป สำหรับผู้เขียนมีความเห็นว่าเพื่อนๆต้องสังเกตเองจากสภาพของสายพานที่หน้างานแล้วเอาคุณสมบัติ 3 ประการที่มาตรฐานกล่าวแล้วเป็นตัวจับเปรียบเทียบ

          1.ความแข็งของผิวสายพาน ( Hardness)  ค่ามากที่สุดที่ยอมให้ใช้งานคือ 85 Shore A ดูตามมาตรฐาน ISO 4195 สายพานที่แข็งเกินไปจะไม่สัมผัสลูกกลิ้งด้านล่าง ทำให้เกิดสายพานวิ่งไม่ตรงแนว (Slide) ก็ใช้เป็นข้อสังเกตหนึ่งก็ได้ว่าสายพานมันไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้แล้ว   

 

 

 

          2.การยืดตัวจนขาดของผิวสายพาน (Elongation at Break) เราไม่สามารถวัดค่านี้ได้ในหน้างานแต่เราสามารถสังเกตการทำงาน ( performance)  ของสายพานจากตัวชี้วัดอย่างอื่นได้เช่น สายพานยืดจนเราต้องตัด-ต่อ มาหลายครั้งแล้ว วัดระยะความยาวของสายพานที่ตัดออก เทียบกับการยืดตัวที่ยอมให้ (ประมาณ 2% ของความยาวสายพาน) แสดงว่าสายพานยืดจนเสี่ยงที่จะขาดแล้ว หรือสังเกตหากผิวสายพานแตกมาก ผลที่ตามมาที่สังเกตได้ก็คือจะมีวัสดุล่วงที่สายพานด้านกลับ(Return Side) ตลอดแนวสายพานเนื่องจากเศษวัสดุจะติดไปตามรอยแตกของผิวสายพาน Belt Cleaner ไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงไม่รู้ว่าสายพานยืดแค่ไหน แต่ด้วยการทำงานที่ไม่Function ของสายพานเราก็พิจารณาเปลี่ยนได้

 

 

 

 

          3.การสูญเสียแรงดึงของผิวสายพาน (Tensile Strength) ค่านี้เราก็ไม่สามารถวัดได้ในหน้างานเช่นกัน แต่เราอาจจะสังเกต สภาพผิวหน้าของสายพานที่แตก (Crack) ก็จะพออนุมานได้ว่าความร้อนน่าจะส่งผลกระทบถึงความแข็งแรงของชั้นผ้าใบ ชั้นผ้าใบอาจจะแยกจากกันแล้วแต่เราไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเพื่อนๆ ก็พิจารณาเองว่าสายพานใช้งานมานานแค่ไหนแล้ว สมควรจะเปลี่ยนหรือไม่เมื่อใด อันนี้ก็แล้วแต่ความ Serious ของสภาพสายพานที่ใช้งานอยู่ หรืออาจจะสังเกตว่า สายพานวิ่งส่ายไป-มา เนื่องจากสายพานแข็งเกินไป ท้องสายพานไม่สัมผัสกับลูกกลิ้งตัวล่าง สัญญาณอย่างนี้ก็แสดงว่าต้องถึงเวลาเปลี่ยนสายพานได้แล้ว

  1. ผลกระทบของอุณหภูมิกับสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)

 

 

 

 

          เมื่อใช้สายพานไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง สายพานจะเกิดขบวนการเสื่อมสภาพตามเวลาที่ผ่านไป(Accelerated Ageing)โดยเฉพาะสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) จะปรากฏเห็นความเสียหายได้ง่ายกว่าสายพานทนสึก โดยจะเห็นร่องรอยของการแตกที่ผิวหน้าของสายพาน (Cracking) และเนื้อสายพานจะค่อยๆแข็งขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลไปถึงแรงยึดเกาะระหว่าง ผ้าใบกับผ้าใบ และระหว่างผ้าใบกับผิวสายพานลดลง เนื่องจากความร้อนได้ส่งผ่านไปถึง ทำให้ชั้นผ้าใบแยกกัน นั่นหมายความว่าสายพานเส้นนั้นสิ้นสุดอายุการใช้งานแล้ว การยืดอายุการใช้งานก็คือการเพิ่มความหนาของผิวยางด้านบน (Top Cover) เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนแผ่มาถึงชั้นผ้าใบของสายพานจนมากเกินกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันจะทนได้ การทดสอบในห้องทดลองจะสามารถบอกได้ว่า คุณภาพทางกายภาพ(Physical Property) ผิวของสายพานเส้นไหน ลดลงมากน้อยต่างกันอย่างไร นั่นหมายความว่าเราสามารถทำนายอายุการใช้งานของสายพานแต่ละเส้นได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ

 

 

 

  1. สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) มีหลายเกรด หลายราคา

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การบอกค่าอุณหภูมิสายพานทนร้อนมีผลกระทบถึงราคาที่ต้องจ่าย แน่นอนทนร้อนได้มากเท่าไหร่ราคาก็สูงมากขึ้นเท่านั้น และราคาไม่ได้เป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นซะด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น

  •   ทนร้อน 100°C ราคา 2,000 บาทต่อตารางเมตร
  •   ทนร้อน 130°C ราคา 2,500 บาทต่อตารางเมตร
  •   ทนร้อน 200°C ราคา 4,000 บาทต่อตารางเมตร

          ดังนั้นผู้ซื้อต้องระบุความร้อนที่เกิดขึ้นจริงๆ เพื่อที่จะได้ใช้สายพานให้คุ้มค่าจริงๆ ผู้ผลิตอาจจะแบ่งสายพานทนร้อนออกเป็น 2- 4 ระดับ ตัวอย่างข้างล่างแบ่งออกแค่ 2 ระดับพร้อมบอกคุณสมบัติอื่นๆให้ทราบอีกด้วย

 

 

 

 

 9.ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเลือกสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)

 

 

          นอกจากอุณหภูมิของวัสดุที่ลำเลียงแล้วยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องนำมาร่วมพิจารณาเลือกสายพานทนร้อน เช่น

          1.ลักษณะของวัสดุ ขนาดใหญ่-เล็ก-เป็นผง-กลม-เหลี่ยม-คม-มน ซึ่งมีผลต่อการระบายความร้อนของสายพาน วัสดุขนาดใหญ่จะระบายความร้อนได้เร็ว วัสดุขนาดเล็กระบายได้ช้าเป็นต้น

          2.ลักษณะการแผ่กระจายของวัสดุบนสายพาน เต็ม-บางส่วน หนา-บางมีผลต่อการระบายความร้อนของสายพานเช่นกัน

          3.อัตราการลดลงของอุณหภูมิของวัสดุซึ่งมีผลต่อการระบายความร้อนของสายพาน เช่นอยู่ภายนอกอาคารลมพัดแรง การระบายความร้อนก็จะทำได้ดี

          4.ความยาวและความเร็วของสายพานซึ่งมีผลต่อการระบายความร้อนของสายพาน เช่น สายพานยาวมาก อุณหภูมิสะสมบนสายพานจะสูง แต่ความเร็วของสายพานมากวัสดุก็จะ Discharge ได้เร็ว อุณหภูมิสะสมบนสายพานจะต่ำเป็นต้น

          5.สิ่งแวดล้อมโดยรวมเช่น สายพานอยู่ในที่ปิด หรืออยู่กลางแจ้งซึ่งมีผลต่อการระบายความร้อนของสายพาน

 

   

 

 

          ตารางข้างล่างเป็น Guide line แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของวัสดุอุณหภูมิของวัสดุที่บรรทุกและอุณหภูมิของสายพานมีค่าประมาณเท่าไหร่ ให้พอเป็น Idea เลือกค่าอุณหภูมิของสายพานที่เหมาะสมได้

 

 

 10.สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ใช้งานที่ไหน

 

 

 

11. ผิว (Cover) สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) ทำด้วยวัสดุอะไรบ้าง

 

 

12. การการันตี (Warrantee) สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt)

            เรื่องการันตีการใช้งานของสายพานชนิดพิเศษทนร้อนเป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้ยาก เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายมีข้อมูลในหัวคนละชุด ขอแชร์ข้อมูลเท่าที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co., Ltd.) มีประสบการณ์มา ปกติโรงงานผลิตสายพานจะไม่กล้าการันตีการใช้งาน (เพราะไม่รู้ว่าหน้างานมีลักษณะและวิธีใช้งาน Conveyor เป็นอย่างไร) แต่จะการันตีคุณภาพการผลิตว่าได้ตามมาตรฐาน ISO, DIN แต่ผู้ซื้อไม่อยากได้คำตอบประเภทนี้ และมักจะเคี่ยวเข็ญผู้ขายว่า สายพานคุณใช้ได้นานแค่ไหน สายพานถึงผิวไม่แตก ผิวไม่หลุด?  คำถามนี้หากถามกลับไปยังผู้ซื้อก็ยังต้องยอมรับว่าตอบไม่ได้เหมือนกัน เช่น แค่ไหนถึงจะเรียกว่าผิวสายพาน แตก-ไม่แตก เช่น มีรอย Crack ขนาด กว้าง เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าไม่แตกเช่นCrack ขนาด 0.1 มม. แทบมองไม่เห็นเลยแต่ยังใช้งานได้ปกติ อย่างนี้เรียกแตกหรือยัง แล้ววัดได้อย่างไร ส่วนกรณีผิวไม่หลุดพอมองออกและคุยกันได้แต่สาเหตุที่ผิวหลุดอาจจะไม่ใช่เกิดจากสายพานทนร้อนไม่มีคุณภาพก็ได้ เช่น เกิดจาก Impact แค่นี้ก็ใบ้กินทั้งคนซื้อคนขายแล้ว

 

    

 

 

 

 

 

          และมีเหตุผลอีกหลายประการที่โรงงานผลิตไม่กล้าการันตีนะครับ เหตุผลหลักเพราะว่า การการันตีการใช้งานสายพานที่ผู้ผลิตทำออกมานั้นอยู่บนพื้นฐานของการใช้งานที่ถูกต้อง รวมถึงระบบต่างๆของสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ต้องทำงานบนพื้นฐานที่ถูกต้องสมบูรณ์ จุดปล่อย (Discharge) และจุดรับ(Belt Support) ต้องออกแบบอย่างถูกต้อง แต่การใช้งานจริงที่หน้างานเป็นอย่างไรผู้ขายไม่อาจทราบหรือประเมินได้ (ส่วนมากที่เห็นมักไม่ได้มาตรฐาน) หรือแม้แต่ขนาดและอุณหภูมิของวัสดุที่จะ Load บนสายพานก็ต้องไม่เกิน อุณหภูมิที่กำหนดไว้ มีประสบการณ์มากมายทีโรงงานมีความจำเป็นต้องเร่งการผลิตก็เป็นปัจจัยทำให้ผู้ปฏิบัติงาน ต้องปฏิบัติตามไม่คำนึงถึงว่าจะทำให้สายพานเสียหาย ยกตัวอย่างเช่น ในโรงงานที่ผลิต  ซึ่งใน Process นั้นระบุว่า ก่อนที่วัสดุ (อุณหภูมิ 220°c ) จะ Load บนสายพานต้องทำให้เย็นลงที่ 150°c เสียก่อน แต่ในขบวนการผลิตจริงๆ นั้นไม่ได้ทำตาม เนื่องจากฝ่ายผลิตความต้องการที่จะเร่งการผลิตดังนั้นวัสดุที่  อุณหภูมิ 182.5°c จะถูก load ตรงๆลงบนสายพาน (ทนร้อน130°c) ถ้าทำให้อุณหภูมิของสายพานสูงกว่า130°c สายพานจึงต้องเสียหายเร็วกว่ากำหนด

          ดังนั้นเรื่องการการันตีนี้ ถ้าจะให้เป็นที่เข้าใจและถูกต้องน่าจะอ้างอิง Parameter การทดสอบมาตรฐานอย่างที่เคยกล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ข้อเสียคือ ความยุ่งยาก ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถทดสอบตามนั้นได้ จึงเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ บางครั้งผู้ซื้อบางรายก็อยากจะให้ออกใบรับรองคุณสมบัติ ผู้ขายก็ออกให้ได้ทุกที เพราะในข้อเท็จจริงผู้ซื้อก็ไม่เคยส่งสายพานไปทดสอบสักที ดังนั้นใบรับรองก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทางเลือกที่เป็นข้อแนะนำจากคือ ผู้ซื้อต้องพิจารณาซื้อสายพานทนร้อนจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ แล้วลองใช้ดูบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd.) เชื่อว่าผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะไม่ยอมเอาเครดิตที่สะสมมายาวนานมาแลกกับการขายสายพานที่ไม่ได้คุณภาพเป็นแน่ถ้าผู้ซื้อตัดสินใจโดยใช้ราคาต่ำเป็นหลัก บอกได้เลยว่าคุณภาพอาจจะต้องตรงข้ามกับความคาดหวังแน่นอน เพราะต้นทุนการผลิตสายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) แพงกว่าสายพานแบบทนสึกมากทีเดียว

 

 

 

 

13. บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co., Ltd.)ตัวแทนจำหน่าย สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) จากยุโรปยี่ห้อSIG จากประเทศอิตาลี

          บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.,Ltd.) ไม่ขอโฆษณาชวนเชื่ออะไรมาก เราขอให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ เพราะเราเชื่อว่าผู้ซื้อทุกท่านฉลาดและมีวิจารณญาณของตนเองสามารถพิจารณาได้ว่าสิ่งไหนที่เลือกแล้วคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไป เราก็ขอบอกแต่เพียงว่าเราสามารถจัดหา สายพานทนร้อน (Heat Resistant Conveyor Belt) และสายพานทั่วไป ที่มีคุณภาพดีทั้งแบบผ้าใบ ทนน้ำมัน เสริมลวดเหล็กพิเศษกันสายพานขาดตามยาว (Rip Protection) สายพาน Pipe Conveyor Belt และอื่นๆอีกมาก มาให้ท่านพิจารณาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ถ้าท่านเชื่อมั่นว่าเราจะเป็นหนึ่งใน Solution ที่น่าสนใจ เราก็ยินดีรับใช้เสมอครับ ฝาก Brochure ข้างล่างให้ท่าน Click อ่านด้วยครับ

 

Brochure สายพานคุณภาพดี จากยุโรป ประเทศอิตาลี บัดนี้มีจำหน่ายที่เมืองไทยแล้ว Download ได้เลย

 

            สุดท้าย บริษัท  คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd.) ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ให้กำลังใจและสนับสนุนสินค้าของเรา เราสัญญาว่า เราจะตอบสนองท่านอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หยุดนิ่ง เราไม่เคยทำงานลวกๆ หรือลดระดับการปฏิบัติงานตนเอง เราทราบวิธีและมีความสามารถ ที่จะสร้างสร้างความเรียบง่ายบนซับซ้อน อยากใช้เราก็ติดต่อเราครับ ง่ายนิดเดียวครับ

 

        สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลาหรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่อยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆกันได้และไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ “Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน’’ ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม”“ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม