ถอดรหัสสายพานทนสึก (Wear Resistance Belt)

  ตอนนี้เป็นเรื่องของผิวสายพานทนสึกล้วนๆเราจะพูดถึงเนื้อหาในหัวข้อที่ 1.1 นะครับ  สายพานทนสึก(Wear Resistance Conveyor Belt) หรืออีกอยางหนึ่งจะเรียกว่า สายพาน

ประเภทใช้งานทั่วไป (General Use Conveyor Belt)

 

ผิวของสายพาน (Rubber Cover) แบบเรียบลอกออกมาให้ดู

  1.ขอเอาเรื่องราวบทก่อนๆมา ทบทวนเผื่อว่าบางท่านได้มาอ่านบทความนี้ก่อนจะได้เข้าใจเนื้อหาได้เลยไม่ต้องย้อนอ่านบทความก่อนหน้านี้ไปมา เริ่มด้วย สายพาน ประเภทใช้งานทั่วไป(General Use Conveyor Belt) หรือเรียกกันว่า สายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt)รูปร่างภายนอกสีดำๆอย่างที่เห็นเป็นสายพานที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศไทยน่าจะ มากกว่า 80%ขึ้นไป หากเราแยกจะคุณภาพของสายพานโดยใช้ตาดู หูฟังคงแยกไม่ออกและทำไม่ได้อย่างแน่นอน เอาเครื่องวัดความแข็งมาวัดก็ไม่ใช่วาระของเรื่อง ถ้าอยากรู้แยกความแตกต่างแบบบ้านๆต้องใช้เครื่องขัดผ้าทรายลองขัดดู ก็จะได้ความว่าถ้าเป็นเกรด M จะขัดผิวออกยากกว่าเกรด Pอย่างไรก็ตามเพื่อให้มีอะไรเป็นมาตรฐานอ้างอิงกันไว้บ้าง จึงมีผู้ทำมาตรฐานผิวยางของสายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt)โดยมีการจัดเกรดจากทั้งค่าย ยุโรป อเมริกา(RMA) ญี่ปุ่น (JIS) ออสเตรเลีย (AS), ISO, South Africa แต่ที่อ้างอิงกันบ่อยๆคือ เป็นของ DIN จาก ประเทศเยอรมนี ปัจจัยที่นำมากำหนดมีแค่ 3 ปัจจัยคือ

แต่ละตัวมันมีค่ากำหนดยังไงกันบ้างดูรายละเอียดตามตารางข้างล่างได้เลยครับ

          ต้องหมายเหตุ ให้ทราบกันนิดหน่อยว่าที่ พูดกันทั่วเมืองไทยว่าผิวสายพานมี Grade M-N-P นั้น แต่เดิมเกรด M และเกรดN เป็นมาตรฐาน DIN ของเยอรมนี แต่ปัจจุบันเขาเลิกใช้ไปนานแล้ว (ใช้เกรด W-X-Y-Z แทน) แต่พวกเรายังอนุรักษ์ไว้อยู่ ดังนั้น Grade M-N-P ก็ยังฮิตในบ้านเราอยู่ ส่วนเกรด P ผู้เขียนยังหาที่มาที่ไปไม่ได้ ว่ามันเกิดอย่างไร รู้แต่ว่ามันมีชีวิตอยู่ดีในปัจจุบันหากหาที่เกิดได้เมื่อไหร่จะรีบมาบอกต่อนะครับ

 

          จากตารางหลากหลายที่เห็นอยู่ข้างบน ไม่ว่าจะมาจากมาตรฐานไหนก็ตามจะเห็นว่ามีดัชนีสำคัญ 3 ตัว ที่นำมากำหนดมาตรฐานของ ผิวยางของสายพานทนสึก (Wear Resistance Conveyor Belt) คือ

           แต่ละตัวเมื่อนำมาถอดรหัสและแปลความหมายแล้วมันเป็นอย่างไร โปรดติดตามต่อๆไป อย่ากระพริบตา

  2 ตอนนี้เรามาเข้าเรื่องการวัดคุณสมบัติของสายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt)  ว่าเขาเอาอะไรมาเป็นตัวกำหนดเกรดของสายพานกัน ถ้าหากเรารู้และเข้าใจค่าเหล่านี้ดี อย่างน้อยที่สุดก็สามารถเลือกซื้อสายพานได้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป หรือเอาเป็นความรู้มาสมัครงานที่ Conveyor Guide ก็ได้ การทดสอบหาคุณสมบัติของสายพานสรุปให้เข้าใจสั้นๆได้ดังต่อไปนี้

  • 1.Min.tensile strength  (N/mm2) คือการทดลองตาม ASTM D412 โดยเอาตัวอย่างสายพานทั้งเส้น (มีผ้าใบด้วย) มาตัดให้เป็นรูปร่างให้เข้าตามมาตรฐานที่กำหนด แล้วเอาเข้าเครื่องมือดึงจนสายพานขาดออกจากกัน แล้วก็อ่านค่าแรงสูงสุดก่อนสายพานจะขาดว่าได้เท่าไหร่ ค่านี้แหละคือ ค่า tensile  strength  (N/mm2)ของสายพาน ดูรูปเครื่องมือข้างล่างนี้จะเห็นว่าสายพานคอดกิ่วเกือบจะขาดเต็มทีแล้วช่วงนี้แหละที่อ่านค่าแรงได้สูงสุด จะสังเกตจากตารางได้ว่าสายพานเกรด M, N, P จะมีค่า tensile strength (N/mm2) ไม่เท่ากัน เกรด M มากที่สุด เกรด N รองลงมาและเกรด P น้อยที่สุดดังนั้นค่า tensile strength (N/mm2) ตัวนี้จึงเป็นตัวชี้ว่าถ้ามีค่ามากสายพานจะมีคุณสมบัติดี ราคาแพง คงหายสงสัยกันแล้วว่าทำไมใครๆก็บอกว่าอยากได้สายพานเกรดM

เครื่องมือดึงสายพานเพื่อหาค่าTensile Strength

  Min.Elongation at break (%) คือความสามารถในการยืดตัวของยางโดยเอาตัวอย่างเฉพาะผิวยางของสายพาน (Cover) มาตัดให้เป็นรูปร่างให้เข้าตามมาตรฐานที่กำหนด ตัวอย่างนี้จะเล็กๆและบางๆเท่านั้น แล้วเอาเข้าเครื่องมือดึงจนผิวสายพานขาดออกจากกัน แล้วก็อ่านค่าแรงสูงสุดก่อนจะขาดว่าได้เท่าไหร่ ค่านี้แหละคือ ค่า Elongation at breakของผิวยาง Cover ดูรูปเครื่องมือข้างล่างนี้จะเห็นว่าตัวอย่างที่ถูกดึงจะคอดกิ่วเกือบจะขาดเต็มทีแล้วเช่นกันช่วงนี้แหละที่อ่านค่าแรงได้สูงสุดเช่นกัน

  จะสังเกตจากตารางได้ว่าสายพานเกรด M , N , P จะมีค่า Min.Elongation at break (%)ไม่เท่ากัน เกรด Mยืดได้มากที่สุด เกรด N รองลงมาและเกรด P ยืดได้น้อยที่สุดดังนั้นค่า Min.Elongation at break (%)ตัวนี้จึงเป็นตัวชี้ว่าถ้ามีค่ามากสายพานจะมีคุณสมบัติดี ราคาแพง คงหายสงสัยกันแล้วว่าทำไมใครๆก็บอกว่าอยากได้สายพานเกรด M

เครื่องมือดึงยางสายพานเพื่อหาค่า Elongation at break

  Max.wear loss (Cu.mm) วิธีการหาค่าทำโดยเอาตัวอย่างเฉพาะผิวสายพานสายพาน มาตัดให้เป็นรูปร่างให้เข้าตามมาตรฐานที่กำหนด ตัวอย่างที่ใช้ทดลองนี้นี้มีรูปร่างคล้ายๆลูกเต๋า ใช้เครื่องมือจับตัวอย่างไว้ให้แน่น แล้วหมุนลูกกลิ้งที่หุ้มด้วยกระดาษทรายที่มีความหยาบมาตรฐานไปขัดถูกับตัวอย่างด้วยความเร็วและเวลาที่กำหนด เมื่อหมดเวลาก็หยุดเครื่องก็นำตัวอย่างไปหาค่าปริมาตร(Volume) ของยางตัวอย่างที่หายไป อ่านค่าน้ำหนักที่หายไปได้เท่าไหร่แล้วแปลงกลับเป็นปริมาตรที่หายไป ค่านี้แหละคือ wear loss (Cu.mm.) มีหน่วยเป็นลูกบาศก์มิลลิเมตร ดูรูปตามเครื่องมือข้างล่างนี้

เครื่องมือวัด Wear loss (mm*3) ของยาง

  จะสังเกตจากตารางได้ว่าสายพานเกรด M , N , P จะมีค่า wear loss (mm3) ไม่เท่ากัน เกรด M น้อยที่สุด เกรด N รองลงมาและเกรด P มากที่สุดดังนั้นค่า wear loss (mm3) ตัวนี้จึงเป็นตัวชี้ว่าถ้ามีค่าน้อยสายพานจะมีคุณสมบัติดี เพราะขัดสีแล้วยางหลุดออกน้อยแสดงว่าทนสึกหรอได้สูง ราคาจะแพง ซึ่งเป็นหนังคนละม้วนกับค่า tensile strength  (N/mm2)และ Elongation at break (%)คงหายสงสัยกันแล้วว่าทำไมใครๆก็บอกว่าอยากได้สายพานเกรดMเพราะมีค่า wear loss (mm3)น้อยที่สุดนั่นเอง กลับไปข้างบนทบทวนดูค่าต่างๆในตารางให้เข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับ

  อีกสองเรื่องการทดสอบข้างล่างนี้ถือว่าเป็นของแถมจาก Conveyor Guide ให้กับแฟนๆก็แล้วกันนะครับ

          จากรูปเป็นการทดลองตามมาตรฐาน ASTM D378 หาค่าแรงยึดเกาะระหว่างยาง Cover กับผ้าใบ(Cover to Ply) และ     ผ้าใบกับผ้าใบ(Ply to Ply) เป็นการหาค่าBonding strength  (N/mm) ดีๆนี่เองโดยการเอาตัวอย่างสายพาน(มีผ้าใบข้างในด้วย) มาตัดให้เป็นรูปร่างให้เข้าตามมาตรฐานที่กำหนด แล้วเอาเข้าเครื่องมือดึงจนCoverหลุดออกจากผ้าใบ(Fabric)  หรือดึงให้ ผ้าใบหลุดออกผ้าใบ(กรณีมีผ้าใบหลายชั้น) แล้วก็อ่านค่าแรงสูงสุดก่อนหลุดว่าได้เท่าไหร่ ค่านี้แหละคือ ค่าแรงยึดเกาะหรือ Bonding strength  (N/mm)

  จะสังเกตจากตารางได้ว่าค่าแรงยึดเกาะระหว่างยาง Cover กับผ้าใบ(Cover to Ply) และ ผ้าใบกับผ้าใบ(Ply to Ply) ในสายพานเกรด M , N , P หรือเทียบได้กับเกรด X,Y,Z ของระบบ DIN จะมีค่า Bonding strength  (N/mm)เท่ากัน

 

เครื่องมือวัดความแข็งของยาง

 

เครื่องมือวัดความแข็งของยาง มีหน่วยเป็น Shore A

ค่าทดสอบต่างๆ จะรายงานออกมาด้วยระบบ Computer

 

  ประเภทใช้งานทั่วไป (General Use Conveyor Belt) หรือเรียกกันว่า สายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt)รูปร่างภายนอกสีดำๆอย่างที่เห็นเป็นสายพานที่ใช้กันทั่วๆไป ที่เรียกกันว่าทนสึกนั้นมันแค่เป็นการเรียกกันสั้นๆให้เข้าใจง่ายเท่านั้น แต่จริงๆแล้วยังมีคุณสมบัติดีๆอย่างอื่นๆที่แฝงอยู่ข้างในอีก ไม่ใช่เฉพาะทนสึก (Wear  Resistance Belt)ได้อย่างเดียวเท่านั้น เช่นคุณสมบัติทนการตัด(Cut) การฉีก (Tear) การเจาะ (Gouge)และการขัดสี (Abrasion) ได้ดีอีกด้วย

  สายพานเกรด  M(DIN-X,RMA Grade1, AS 1332-M24) ทำด้วย ยางธรรมชาติ(Natural Rubber ) หรือ ยางสังเคราะห(Synthetic Rubber)หรือเอาทั้งสองอย่างมาผสมกัน(Blend) มีคุณสมบัติทนการขัดสี (Abrasion) ได้ดี-ดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีมีคุณสมบัติ ทนการตัด(Cut) การฉีก (Tear) การเจาะ (Gouge)และการขัดสี (Abrasion) ได้ดีอีกด้วย

  สายพานเกรด  N(DIN-Y,RMA Grade2, AS 1332-N17) ทำด้วย ยางธรรมชาติ(Natural Rubber ) หรือ ยางสังเคราะห(Synthetic Rubber) หรือเอาทั้งสองอย่างมาผสมกัน(Blend)เหมือนกัน มีคุณสมบัติทนการขัดสี (Abrasion) ได้ดี ส่วนการทนทานต่อการตัด(Cut) การฉีก (Tear) การเจาะ (Gouge)และการขัดสี (Abrasion) ได้ดีรองลงมาไม่เท่ากับเกรด Mใครจะเลือกใช้เกรดอะไรก็ต้องใช้ความรู้พิจารณาเอาเองให้เหมาะสมกับApplication ของตัวเอง

          ขอจบบทความตอนนี้เอาไว้แค่นี้ก่อน แต่ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ไม่สามารถนำมาเสนอได้ในเวลานี้ หากท่านที่ติดตามต้องการความรู้อะไรเพิ่มเติมสอบถามได้เลยนะครับไม่ต้องเกรงใจ เราไม่เน้นขายของอะไรมากมาย อยากให้ท่านมีความรู้แล้วตัดสินใจได้เองได้ของที่คุ้มค่าเงิน ถ้าเห็นว่าเราทำดี จะอุดหนุนให้เราอยู่รอดได้ก็เป็นพระคุณอย่างสูงเราเชื่อว่า ลูกค้าที่เป็นศูนย์กลางของธุรกิจเรา แม้จะไม่ได้สร้างผลกำไรก้อนโตให้กับเราทันทีแต่ก็จะเป็นรากฐานที่ค่อยๆ ให้เราสะสมความสำเร็จไปทีละน้อย และการบอกต่อของท่านให้คนรอบข้าง ก็จะช่วยขยายฐานให้กับเราได้อีกในอนาคตแน่นอน            ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม website ของเรา