ภาพรวมการแบ่งประเภทของสายพานลำเลียง (Rubber Belt)

           เรื่องของสายพานลำเลียง(Rubber Conveyor Belt)มีพัฒนาการและนำมาใช้งานเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีใครจัดระเบียบหรือแบ่งหมวดหมู่ให้เรียนรู้กันง่ายๆหรือยัง เท่าที่เราทราบคือ ยังมีไม่ชัดเจน และแน่นอนสำหรับความรู้ที่เป็นภาษาไทยก็ยังคงไม่มีและหายากเช่นเดิม ดังนั้นเพื่อให้ผู้เข้ามาเยือน website ของเรามีอะไรที่เข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับความรู้เรื่องสายพานลำเลียง(Rubber Conveyor Belt)ติดรอยหยักของสมอง เราจึงขออาสาจัดระเบียบเองเลยก็แล้วกัน อาจจะผิดแผกแตกต่างจากชาวบ้านไปมั่งแต่รับรองได้ของแท้ๆ เนื้อหาไม่มั่วแน่นอน...เชิญติดตามได้โดยพลัน

เริ่มต้นเอาจากเรื่องพื้นฐาน (Basic) ก่อนเลยที่

          Definition (คำจำกัดความของสายพานลำเลียง): Conveyor belts are a medium that carries materials from one place to another.

    สายพานลำเลียง  คือวัตถุตัวกลางที่ทำหน้าที่บรรทุกวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ตัวกลางความหมายก็คือเมื่อสายพานหมุนไปครบรอบแล้วก็จะเวียนมา ทำงานแบบซ้ำๆเดิมไปเรื่อยๆจนกว่าพังหรือขาด จนใช้งานกันไม่ได้

สายพาน Heavy Conveyor Belt ขณะทำงาน ลำเลียงวัสดุ

 

 

          ถ้าเราจะแบ่งสายพานชนิดใช้งานหนัก ( Heavy Conveyor Belt ) ให้เข้าใจได้ง่ายสามารถแบ่งประเภทออกได้เป็น                    3 แนวทางคือ

 

 

              1.แบ่งตามประเภทของผิว (Cover Rubber) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้ 2 ประเภท

                           1.1 ประเภทใช้งานทั่วไป (General Use Conveyor Belt) หรือเรียกกันว่า สายพานทนสึก (Wear  Resistance Conveyor Belt)

ผิวของสายพาน (Rubber Cover) แบบเรียบ

 

 

                   1.2 ประเภทใช้งานแบบพิเศษ (Special Conveyor Belt) ซึ่งคำทว่าพิเศษนี้ก็มีกันมากมายหลายแบบเช่น

 

  • Heat Resistant Conveyor Belt (สายพานทนร้อน)
  • Oil /Fat/Grease Resistant Conveyor Belt (สายพานทนน้ำมัน/ไขมัน/จาระบี)
  • Flame Resistant Belt (สายพานทนเปลวไฟ)
  • Cold Resistant Belt๖สายพานทนความเย็น) Chemical Resistant Conveyor Belt. (สายพานทนสารเคมี)
  • Antistatic (สายพานมีคุณสมบัติป้องกันกระแสไฟฟ้าสถิตย์)
  • Food Grade (สายพานสำหรับลำเลียงอาหาร)

2. แบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้รับแรง (Tension Member) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้หลายชนิดแต่จะคัดเอาที่ฮิตๆใช้กันก็จะมี 2 ประเภท

          2.1สายพานผ้าใบ (Fabric Conveyor Belt) ซึ่งวัสดุที่ใช้รับแรง (Tension Member) ทำด้วยวัสดุต่างๆกันไป แต่เรียกรวมๆกันว่าผ้าใบ เช่น Cotton, Nylon, EP(Polyester/ Nylon)หรือเรียกอีกอย่างว่า PN,และKevlar(Aramid),Fiberglass

 

                                                                                                      โครงสร้างของผ้าใบในสายพานลำเลียง

 

 

          2.2 สายพานลวดสลิง (Steel Cord Conveyor Belt) คือ สายพานที่มีวัสดุรับแรง(Tension Member) เป็นเส้นลวด(Steel cord)

                                                                                                         สายพานเส้นนี้คือ ST 2500 รับแรงดึงได้ 2500 N/mm.

 

 

                                                                                                                  โครงสร้างของสายพาน Steel Cord

 

 

          3. แบ่งตามประเภทของ ลักษณะของผิวหน้า (Rubber Cover Surface) ของสายพานลำเลียง (Rubber Conveyor Belt) แบ่งได้หลายชนิดแต่จะคัดเอาที่ฮิตๆใช้กันก็จะมี 3 ประเภท

          แบบผิวหน้าเรียบ (Plain Surface) ใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงเล็กน้อยใช้ในงานทั่วๆไป ในประเทศไทยเราน่าจะใช้สายพานแบบนี้มากกว่า 80%

                                                                                                             สายพานเส้นนี้ผิวหน้าเรียบ

 

 

          แบบผิวหน้าก้างปลา (Pattern Surface) มีได้หลายลักษณะ(Pattern) เรียกรวมๆว่าก้างปลา จะมีสัน(Cleat) บนตัวสายพานใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงได้ดีกว่าแบบผิวเรียบ แต่ราคาก็แพงกว่าแน่นอน ก่อนซื้อท่านต้องรู้ว่าวัสดุของท่านที่ลำเลียงสามารถขึ้นได้สูงกี่องศา ถ้ามุมเอียงของระบบสายพาน(Conveyor System)มีมากว่า มุมกองของวัสดุๆอาจจะไหลกลับเดี๋ยวเสียเงินฟรีๆ

                                                                                                             ผิวหน้าก้างปลา (Pattern Surface)

 

          มีผิวหน้าพิเศษหรือมีโครงสร้างแบบพิเศษ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น Sidewall Beltและ Pipe conveyor Belt เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องพิเศษอย่างที่กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนนี้ว่าเราจะไม่ลงลึกในเนื้อหาแต่หากท่านใดอยากรู้หรือมีการใช้งานที่แปลกๆ จะใช้สายพานประเภทไหนดีถึงจะเหมาะ หลายๆประเภทไม่มีการผลิตในประเทศไทย หาที่ไหนไม่ได้ ถามใครก็ไม่มีคำตอบลองสอบถามเราได้เลยครับ “ท่านกล้าซักไซ้..Conveyor Guide ก็กล้าตอบ”

 

โครงสร้างของ SIDEWALLBELT

 

 

 

Sidewall Beltขณะทำการติดตั้ง

 

 

                

                                                                                                                   Pipe Conveyor Belt

 

 

          ขอจบบทความตอนที่ 2 ไว้เท่านี้ก่อน ตอนต่อไปต้องอ้างถึงเรื่องราวของตอนที่2 บ่อยๆ ให้ Print เก็บไว้เป็น Referenceเวลาจะอ่านตอนต่อไปจะได้เข้าใจได้ง่ายๆ... ชิวๆ.... ไม่งง........ สวัสดีครับ