Engineering Steel Chain (โซ่จัดทำเพื่องานพิเศษเฉพาะ)

         โซ่แบ่งออกได้ง่ายๆ 2 แบบ   เป็นโซ่ส่งกำลัง (Transmission Chain) และโซ่ลำเลียง (Conveyor Chain) เรา Conveyor Guide มุ่งเน้นนำเสนอ Solution ของโซ่ประเภทEngineering Steel Chain ซึ่งเป็นโซ่แบบลำเลียงแบบสั่งทำเป็นพิเศษ (Made to Order) ที่เราอยากจะนำเสนอเพราะเป็นเรื่องของความต้องการของอุสาหกรรมต่างๆเฉพาะด้านจริงๆที่ผู้ผลิตรายอื่นไม่สนใจหรือสนใจน้อยที่ตอบสนอง หรือตอบสนองด้วยราคาที่แบบว่าซื้อก็ดี ไม่ซื้อก็ได้ ลองติดต่อคุยกันกับเราดูครับ เบื้องต้น มี drawing ส่งมาให้เราดู ถ้าไม่มีส่งตัวอย่างก็ได้ ถ้าไม่มีตัวอย่างก็ไปวัดระยะกันหนางานกัน ไม่เกี่ยงว่าปริมาณน้อยหรือปริมาณมาก เราอาจจะได้เจอกันช้าไป แต่ดีที่ยังได้เจอกัน คุณลำบากอะไรไหม คุณคิดถึงใครหรือเปล่า อย่าลืม                                                                              เล่าสู่กันฟัง คุยกันได้ทุกเรื่องราว

          ในบทความต่างๆของ Conveyor Guide ได้นำรูปภาพและตารางจากหลายแหล่งข้อมูลโดยไม่ได้อ้างอิงไว้แหล่งที่มา ผู้เรียบเรียงจึงต้องขออภัยท่านเจ้าของข้อมูลนั้นๆด้วยความจริงใจทั้งนี้ผู้เรียบเรียงมีจุดประสงค์ให้ผู้อ่านได้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโซ่ได้จากหลากหลายมิติง่ายต่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ใช้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในหลักการในภาพกว้างเป็นสำคัญ เพราะเรื่องภาพรวมเหล่านี้ ไม่ค่อยมีใครจะนำเสนอ ส่วนรายละเอียดของสินค้าผู้อ่านสามารถค้นหาได้จาก Catalog ของผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อนั้นๆได้โดยตรง อีกทั้งมีอิสสระในการพิจารณาจัดซื้อจัดหาสินค้าจากผู้จำหน่ายรายไหนก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ซื้อจะกระทำได้  ผู้เรียบเรียงเพียงมีหน้าที่เพียงให้ข้อมูลเบื้องต้นในการช่วยท่านตัดสินใจเท่านั้น

 

      1.อะไรคือ Engineering Steel Chain

       โซ่ส่วนมากจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในจุดประสงค์ที่จะส่งกำลัง (Transmit)  จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง แต่ความต้องการโซ่ในการใช้งานมีมากกว่านั้น มีความต้องการใช้โซ่ลำเลียงที่มี Application แปลกๆในอุตสาหกรรมต่างๆมีมากกว่าขึ้น ดังนั้นอุตสาหกรรมจึงต้องการโซ่ลำเลียงที่มีความสามารถทำหน้าที่พิเศษเพิ่มจากหน้าที่ปกติ เช่นนอกจากเป็นโซ่ลำเลียงแล้ว ยังใช้เป็นโซ่ยก (Hoist) หรือใช้เป็นโซ่สำหรับส่งกำลังหมุนใบพัด (Propelling) ซึ่งจะทำหน้าที่มากกว่าแค่ส่งกำลังจากจุดหนึ่งไปถึงจุดหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ต้องการแบบสารพัดประโยชน์นี้จึงเป็นจุดกำเนิดของการผลิต Engineering Steel Chain

      ในปี ค.ศ.1880 ได้มีการพัฒนาโซ่แบบ Cast Pintle Chain ให้เป็นโซ่พิเศษเรียกว่า Engineering Steel Chain มีจุดประสงค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโซ่ Cast Pintle Chain ในการรับแรงดึงให้สูงขึ้น รับน้ำหนักบรรทุกให้มากขึ้น สามารถวิ่งด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ทนทานสามารถรองรับการกระแทกจากน้ำหนักของวัสดุขณะ load ลงบนโซ่ได้ดี ดังนั้นจึงผลิตให้ Engineering Steel Chain จึงมีขนาดใหญ่ บึกบึนกว่าโซ่ที่ใช้งานธรรมดาทั่วไป ปรับปรุงขบวนการผลิตต้องได้โซ่ที่มีคุณภาพดี ใช้ความพิถีพิถันในการเลือกวัสดุทำโซ่เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้งานหนัก การควบคุมระยะต่างๆในการผลิตโซ่ก็ต้องให้มีความแม่นยำและแน่นอนยิ่งขึ้นมากกว่าโซ่ Cast Pintle Chain เพราะโซ่ต้องทำงานหนัก ในสิ่งแวดล้อมที่เลวร้าย มีการสึกหรอสูงดังนั้น Engineering Steel Chain จึงต้องมีมีขนาดใหญ่ และมีขนาดPitch ที่ยาวมากขึ้น มีความแข็งแรงที่สูงขึ้น ทนทานต่อการสึกหรอและการกัดกร่อนมากยิ่งขึ้น อายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น รับน้ำหนักบรรทุกและแรงกระแทกได้มากขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าโซ่ทำงานปราศจากปัญหาในการใช้งานตลอดจนสามารถตอบสนองงานหนักประเภทต่างๆตามความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ

Engineering Steel Chain หลายประเภทจัดอยู่ในมาตรฐาน ASME B29 รูปแบบที่ นิยมกันอยู่ในรูปข้างล่างนี้

 

Engineering Chain with Roller

 

 

Bushed Roller less Engineering Chain

 

 

Welded Steel Version of Pintle Chain

 

 

Bar-Link, or Block and Bar Style Engineering Steel Chain

 

 

          ไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดมาตรฐานของ Engineering Steel Chain มาตรฐานอันแรกที ANSI ครอบคลุมคือ Heavy Duty Offset Sidebar Power Transmission Chains (ASME B293.10) และตามมาด้วย Steel Bushed Roller less Chains (ASME B29.12) และคงมีการพัฒนามาตรฐานตามออกมาอีกเรื่อยๆ

 

         2.การประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ (Industry Applications)

          Engineering Steel Chain จัดว่าเป็นม้างานที่สำคัญในระบบโซ่ลำเลียงประเภทต่างๆ และในBucket Elevator (ที่ลำเลียงวัสดุได้ในแนวดิ่ง) แต่ก็มีบ้างที่ใช้ Engineering Steel Chain สำหรับเป็นโซ่ส่งกำลัง engineering chain ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างแพร่หลายเช่น อุตสาหกรรมซีเมนต์ เหมืองแร่ ก่อสร้าง สวนสนุก โรงน้ำตาล โรงเหล็ก อาหาร โรงงานกระดาษ โรงงานผลิตไฟฟ้า และอื่นๆ

Applications include:

  • Cement
  • Mining/Minerals/Heavy Conveying
  • Construction
  • Asphalt
  • Theme Park
  • Wastewater
  • Sugar
  • Steel Mills/Draw bench
  • Food
  • Hydro-electric
  • Paper Mills
  • General Conveying/Elevating

 

      3.ปัจจัยเบื้องต้นในการพิจารณาเลือกรูปแบบของการลำเลียง (Conveyor Types Selection)

          เมื่อจะเลือกโซ่มาใช้งาน ต้องพิจารณาถึง คุณสมบัติของวัสดุที่จะลำเลียง เป็นวัสดุมวลกอง (Bulk Material) หรือเป็น Unit Load ต่อมาพิจารณาว่าวิธีการลำเลียงว่าเป็นแนวราบ แนวเอียง แนวดิ่ง เป็นแบบห้อย (Suspense) หรือวางอยู่บนโซ่ (Top Loading) หรือเป็นแบบผลัก (Push) จากนั้นค่อยเลือกว่ารูปแบบของการลำเลียงแบบไหนถึงจะเหมาะสม รูปแบบของการลำเลียงทั่วๆไปมี 3 แบบ (ดูรายละเอียดจากตารางข้างล่าง)

รูปแบบของการลำเลียง Top Loading, Suspension and Push Conveyor

 

 

          4.ตารางเลือกชนิดของโซ่ให้เหมาะสมกับประเภทของการลำเลียง

          ตัวอย่างตารางเลือกชนิดของโซ่ให้เหมาะสมกับประเภทของการลำเลียง

 

 

 

 

 

         5.ตัวอย่างบางประเภทของโซ่ลำเลียงที่นิยมใช้กันมาก

          5.1 Apron Conveyor

          หลายครั้งที่การสื่อสารเรื่องที่เป็นความรู้เรื่องเครื่องมือลำเลียงหรือเครื่องจักรต่างๆมีเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศ การสื่อภาษาต่างประเทศให้เข้าใจเป็นภาษาไทยเป็นเรื่องที่หนักอกหนักใจพอสมควรทีเดียวเพราะคำในภาษาไทยไม่สามารถสื่อให้เข้าใจเรื่องราวอย่างน่าพอใจและบางครั้งก็ต้องเสียเวลาคิดกลับเป็นภาษาต่างประเทศอีกถึงจะเข้าใจ คนที่ไม่รู้ภาษา ต่างประเทศจึงเสียเปรียบ Conveyor Guide จึงพยายามเป็นผู้สื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจเท่าที่สติปัญญาจะเอื้ออำนวย ดังนั้นจึงขอวงเล็บคำเฉพาะที่เป็นภาษาอังกฤษไว้หลังคำภาษาไทย (ที่ไม่รู้ว่าสื่อได้ดีแค่ไหน) ด้วยเพื่อให้ผู้อ่านที่ภาษาอังกฤษแข็งแรงจะได้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถ้ามีความผิดพลาดใดๆเกิดขึ้นผู้เขียนยินดีรับคำแนะนำด้วยความเต็มใจ

          คำแปลของ Apron Conveyor ( และ Conveyor รูปแบบอื่นๆก็เช่นเดียวกัน) ไม่รู้ว่า Apron Conveyor  ภาษาไทยจะเรียกอะไรดีบางท่านก็เรียกว่าแบบโซ่กระบัง (ก็ลำบากที่ต้องทำความเข้าใจว่าแบบกระบังมันเป็นยังไงอีกเพราะเป็นคำภาษาไทยที่ไม่ได้ใช้อยู่เป็นประจำ) หรือบางท่านเรียกแบบโซ่ใบเกย(อันนี้พอนึกภาพออกได้ว่าเพราะใบของ Apron ที่มันเกยกัน )บางครั้งเรียกแบบอ่าง( เพราะเอามาจากคำว่า Pan ) และมีอีกหลากหลายคำแปลมา แต่ผู้เรียบเรียงมีความเห็นว่าถ้าจะให้ดีก็จำหรือทำความเข้าใจเรียกทับศัพท์เป็นภาษาต่างประเทศแบบไม่ต้องแปลไปเลยว่า Apron Conveyor  แล้วเข้าใจให้ได้ว่าหมายถึงอะไรและทำงานอย่างไร เช่นเดียวกับเราพูดกันว่า Smart Phone ทุกคนจะเข้าใจกันโดยอัตโนมัติว่ามันคืออะไร มีความสามารถอย่างไรบ้าง โดยไม่ต้องสนใจความหมายว่ามันคืออะไร

Apron Conveyor จัดเป็นพระเอกสำหรับงานที่ต้องการลำเลียงวัสดุมวลกอง (Bulk Material) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำหน้าที่เป็น ฟีดเดอร์คอนเวเยอร์ (Feeder Conveyor) โดยจะเป็น Conveyor รับภาระของวัสดุขนาดใหญ่ เช่นจากเครื่องย่อยวัสดุ (จากขนาดใหญ่ให้เล็กลง) หรือ Crusher งานรับวัสดุจาก Crusher ซึ่งเป็นงานหนักมากเป็นภารกิจทีคอนเวเยอร์ในรูปแบบแบบอื่นจะทำได้ยาก

 

 

 

ตัวอย่างส่วนประกอบของ Apron Feeder Conveyorของผู้ผลิตบางราย

 

 

รูปของ Apron Feeder Conveyor ติด Attachment แบบแผ่นแบบไม่มี แผ่นกั้นด้านข้าง (Sidewall)

 

 

          Apron Conveyor ประกอบด้วยโซ่ตั้งแต่ 1 เส้น (หรือ 1ชุด) ขึ้นไปนำมาต่อกันต่อเป็นวง (endless) อย่างต่อเนื่องพร้อมกับติดตั้งแผ่นอุปกรณ์เสริม (Attachment) และแผ่นรองรับ มีหน้าที่รองรับวัสดุจาก Hopper หรือจากระบบลำเลียงประเภทอื่น

          Apron Conveyor สามารถลำเลียงวัสดุให้ได้ปริมาณมากขึ้นและป้องกันวัสดุหลุดร่วงออกจากกระบะ โดยติดตั้งแผ่นกั้นด้านข้าง (Sidewall) ในแนวดิ่งตลอดแนวคล้ายกับ Sidewall ของสายพานยางดำเพื่อทำให้ที่รองรับเป็นรูปกระบะ (Pan) หรือเป็นรูปราง (Trough) หรือเป็นรูปกล่องแล้วแต่จะเรียกกัน

แผ่นกั้นด้านข้าง(Sidewall) ในแนวดิ่ง ป้องกันวัสดุหลุดร่วงออกจากกระบะ

 

 

           Apron Conveyor มีข้อดีหลายประการคือ สามารถลำเลียงวัสดุประเภท Bulk Material ได้หลากหลายชนิด อิฐ หิน สินแร่เหล็ก ถ่านหิน อีกทั้งสามารถลำเลียงวัสดุที่มีคุณสมบัติแหลมคม วัสดุที่มีความขัดสีสูง วัสดุที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก วัสดุมีอุณหภูมิสูงและอื่นๆ

         เนื่องจาก Apron Conveyor คือมีโครงสร้างที่แข็งแรง จึงสามารถรับแรงตกกระทบและแรงกระแทกได้ดี มีความแข็งแรงทนทานใช้งานหนักได้ หากต้องการความทนทานพิเศษ ทั้งความแข็งแรงด้านแรงดึง ทนทานต่อการขัดสี (Abrasion) ใบของ Apron จะทำด้วย แผ่น Manganese หล่อ (cast manganese) ซึ่งมีความอึดทั้งด้านทนต่อการสึกหรอ (Abrasive) แรงตกกระทบ (Impact) กว่าการใช้โลหะประเภทอื่นๆ

ข้อเสีย Apron Conveyor คือมีราคาสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเปรียบเทียบราคาต่อเมตรกับสายพานยางดำ (Belt Conveyor) นอกจากนี้ใบ (Attachment) ของ Apron Conveyor ไม่เรียบและมีช่องว่างระหว่างแผ่น ทำให้วัสดุร่วงหล่นได้ และ Apron Conveyor ไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานกับวัสดุที่มีความเหนียว เพราะวัสดุจะติดที่ใบของ Apron

 

การวางโครงสร้าง Layout ของ Apron Conveyor Frame

 

 

 

ใบ Apron ประเภทต่างๆ

 

 

 

งานหนักหนาสาหัสจริงๆ ต้องของจริง อึดจริงเท่านั้นที่จะแบกรับภาระได้

 

 

           Apron Conveyor แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าสายพานลำเลียงแบบยางดำ (Belt Conveyor) แต่ก็มีความสามารถพิเศษที่จำเป็นต้องใช้เมื่อ สายพานยางดำ (Belt Conveyor) มีข้อจำกัด ไม่สามารถทำงานได้ในบาง Application (เช่น วัสดุที่มีความแหลมคม วัสดุที่มีขนาดใหญ่ อุณหภูมิสูง)   Apron Conveyor ลำเลียงวัสดุได้ทั้งในแนวราบและแนวเอียง ถ้าหากมีความจำเป็นของ Process ที่ต้องวาง Apron Conveyor ในแนวเอียงปรกติแล้ว Apron Conveyor จะใช้ลำเลียงไม่เกิน 35 องศา (แล้วแต่คุณสมบัติของวัสดุ)

          Apron Conveyor ใช้โซ่แบบมีลูกกลิ้ง (Roller Chain)  ทำให้ประหยัดพลังงานเพราะมีแรงเสียดทานน้อยในเวลาทำงาน เนื่องจากเป็น Apron Conveyor  จัดเป็น Conveyor ประเภทตัวกลางที่แบกรับน้ำหนักบรรทุก ( Carry) ของวัสดุแล้วพาวัสดุแล้วพาไปปล่อย (Discharge) ที่ Belt conveyor หรือ Bucket Elevator หรือตัวรองรับ(Receiving Machine)ใน Process ต่อไป พูดง่ายๆเรื่องความแตกต่างของการทำงานระหว่าง Apron Conveyor  และ Drag  Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบลาก) และ Flight and Sraper Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบใบกวาดและแบบขูด) คือขณะที่ Apron Conveyor  ทำงาน (เคลื่อนที่) วัสดุนั้นยังคงอยู่บน Apron (ใบ Apron แบกวัสดุไป วัสดุอยู่เฉยๆไม่ได้เคลื่อนที่)  ไม่เหมือน Conveyor ประเภทนำพาแบบ ลาก(Drag) หรือ ขูด (Scrap) ที่วัสดุจะถูกลากให้เคลื่อนที่ไปพร้อมๆกับโซ่

 

        5.2 Drag  Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบลาก)                                                                                                                 Drag  Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบลาก) บางครั้งก็สามารถและใช้สลับกันไปมากับ Scraper Conveyor (คอนเวเยอร์แบบใบกวาดหรือขูด)ได้ ข้อแตกต่างระหว่างคอนเวเยอร์ทั้ง 2 ประเภทคือ Drag  Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบลาก)ประกอบด้วยโซ่อย่างน้อย 1 แถว(Strand) ทำหน้าที่เป็นตัวผลัก (Pusher) หรือเป็นตัวลาก (Drag) วัสดุที่บรรจุอยู่ภายในราง (Trough)โดยไม่มีอุปกรณ์เสริม(Attachment) ติดตั้งกับโซ่

           เนื่องจากการทำงานของ Drag  Conveyor (โซลำเลียงแบบลาก) เป็นแบบแรงเสียดทานที่โซ่ต้องลากสัมผัสอยู่กับรางตลอดเวลา ดังนั้นโซ่ต้องมีความทนทาน โซ่สามารถทำด้วย เหล็กอัลลอยชุบแข็ง ส่วนกล่องหรือราง(Trough) ของ Drag  Conveyor (โซลำเลียงแบบลาก) จึงต้องทำด้วยเหล็กหรือบุผนังด้วยเหล็กกล้าทนต่อการสึกหรอ หรือทำด้วย คอนกรีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กับงานวัสดุ ประเภทขี้เถ้า(Fly ash) ,Clinker หรือวัสดุที่มีความคมสูงมากอาจจะต้องใช้เหล็กอัลลอย (SD Alloy) ในโรงปูนซีเมนต์ที่ลำเลียง Clinker ที่ต้องการความทนทานสูงก็เจาะจงใช้โซ่ที่ทำด้วย Manganese เนื่องจากทนทานสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วัสดุชนิดอื่นๆ Drag  Conveyor (โซลำเลียงแบบลาก) โดยทั่วไปแล้วมีการสึกหรอสูง ต้องบำรุงรักษาตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะโซ่สึกหรอง่ายเพราะต้องเสียดสีกับรางอยู่ตลอดเวลาทำงาน

 

รูปโครงสร้างของ Drag  Conveyor (โซลำเลียงแบบลาก)

 

 

        5.3 Flight and Scraper Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบใบกวาดและแบบขูด)

Scraper หรือ Flight conveyor คือโซ่แบบใบกวาดประกอบด้วยโซ่แถวเดียว (Single Strand)) หรือสองแถว (Double Strand) ติดตั้งใบกวาดห่างกันเป็นระยะๆตลอดแนวโซ่ ใบกวาด (Flight) อาจจะทำด้วยเหล็กแผ่นหรือแผ่นเหล็กหล่อหรือวัสดุอื่นๆก็ได้

 

       

รูป Flight and Scraper Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบใบกวาดและแบบขูด)

 

 

          Flight conveyor ปกติแล้วจะใช้โซ่แบบ Roller Chain ขณะที่ Scraper Conveyor จะใช้โซ่ประเภทลากหรือเลื่อน (slide) ไปภายในกล่อง (Trough)  Flight and Sraper Conveyor (โซ่ลำเลียงแบบใบกวาดและแบบขูด)จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหนัก โรงงานขนาดใหญ่ เช่นโรงไฟฟ้าแต่ก็สามารถผลิตย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้านได้ เช่นในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นต้น Scraper หรือ Flight conveyor เหมาะสำหรับลำเลียงวัสดุมวลกอง(Bulk Material) เช่นถ่านหินที่มีขนาดเล็กจนถึงปานกลาง วัสดุที่มีลักษณะเป็นเม็ด(Grain) ต่างๆ หรือวัสดุที่มีความแหลมคมวัสดุที่มีอุณหภูมิสูงก็สามารถทำงานได้โดยมีประสิทธิภาพสูง

 

ตัวอย่างรูปโครงสร้าง Flight and Scraper Conveyor (โซลำเลียงแบบใบกวาดและแบบขูด) ของผู้ผลิตรายหนึ่ง

 

 

รูป Flight and Scraper Conveyor (โซลำเลียงแบบใบกวาดและแบบขูด)

 

 

 

ตัวอย่างโซ่ Flight Conveyor แบบแถวเดียว (Single Strand Chain)

 

 


ตัวอย่างโซ่ Flight Conveyor แบบ 2 แถว (Double Strand Chain)

 

          Scraper หรือ Flight conveyor คอนเวเยอร์แบบใบกวาดมีราคาถูกกว่าคอนเวเยอร์แบบ Apron แต่ใช้พลังงานในการขับเคลื่อนมากกว่าเพราะการทำงานเป็นการทำงานที่ต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานโดยตรงดังนั้นการบำรุงรักษาจึงสูงกว่าอีกทั้ง Application การใช้งานก็มีขอบเขตจำกัดไม่หลากหลายเท่า Apron Conveyor

 

ตัวอย่างอุปกรณ์เสริม(Attachment) ของ Flight Conveyor Chainของผู้ผลิตรายหนึ่ง

 

 

          6.ตัวอย่าง Conveyor Chain (โซ่ลำเลียง) ในอุสาหกรรมชนิดต่างๆ

          6.1 อุตสาหกรรมซีเมนต์

 

 

 

 

 

 

 

          Reclaimer ที่โรงเก็บดินเหนียว (Clay) และหินปูน (lime Stone) ใช้โซ่แบบ 2 แถวทำหน้าที่เป็น Scraper Conveyor ขูด Law Material ไปสู่ขบวนการลำเลียงอื่นต่อไป

 


 

          Apron Conveyor ปรกติจะอยู่ใต้ Hopper ใช้โซ่แบบ Solid Bearing Pin อย่างน้อย 2 แถวเพราะต้องรับภาระการทำงานที่หนักมาก

 

 

 

 

          6.2 อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม

 

    

 

 

   

 

 

   

  

 

          6.3  อุตสาหกรรมท่อเหล็ก

 

ใช้โซ่ 2 แถวติดอุปกรณ์เสริมเพื่อลำเลียงท่อเหล็ก

 

          6.4 อุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย

 

 

 

 

          6.5 อุตสาหกรรมน้ำตาล(Sugar Industry)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Drop Forged Chain ในขบวนการลำเลียงอ้อย

 

 

6.6 ตัวอย่างโซ่ลำเลียงในอุสาหกรรมชนิดต่างๆ

 

Abattoir Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงฆ่าสัตว์ และโรงงานชำแหละเนื้อสัตว์

 

 

Car Conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ในการประกอบตัวถังและการพ่นสี

 

 

Bucket Elevator Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ต้องการลำเลียงวัสดุในแนวเอียงหรือแนวดิ่ง

 

 

Box Scraper Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องการลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือเอียงเล็กน้อย

 

 

Bi Planar Chainโซ่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงงานบรรจุหีบห่อ (Packaging Industry)

 

 

Cranked Bakery Chainโซ่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงงานทำเค้กและขนมปัง

 

 

 

Festoon Conveyor โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมผ้าและสิ่งทอ

 

 

Roller Coaster Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมสวนสนุก

 

 

Push Conveyor โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมลำเลียงกล่อง

 

 

Pipe Curing Conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมลำเลียงท่อเหล็ก

 

 

Cranked Link conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม

 

 

Slab conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก

 

 

Swing Tray Elevator โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ลำเลียงกล่อง (package) ขึ้นที่สูงในแนวดิ่ง

 

 

Apron Conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมหนักทุกประเภท

 

 

Bucket Elevator Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการลำเลียงวัสดุในแนวดิ่ง

 

 

Transfer Conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็ก

 

 

Scraper Conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ลำเลียงวัสดุมวลกองภายในราง (trough)

 

 

Sterilizer Conveyor Chain โซ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

 

 

            สุดท้าย บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co..Ltd.) ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ให้กำลังใจติดตามอ่านผลงานและสนับสนุนสินค้าของเรา เราสัญญาว่า จะนำเสนอเรื่องราวดีๆมีประโยชน์มาให้ท่านได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เราจะตอบสนองท่านอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หยุดนิ่ง เราไม่เคยทำงานลวกๆ หรือลดระดับการปฏิบัติงานตนเอง เราทราบวิธีและมีความสามารถ ที่จะสร้างสร้างความ เรียบง่ายบนซับซ้อนอยากใช้เราก็ติดต่อเราครับ ง่ายนิดเดียว สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่อยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงหรือโซ่ และผลิตภัณฑ์ที่เรานำเสนอก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆกันได้และไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน...แลกเปลี่ยน...เรียนรู้ ร่วมกัน’’ ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม” “ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม