ตอน 1) ประวัติของลูกกระพ้อ

ลูกกระพ้อเรื่องจริงยิ่งต้องรู้ (ตอน 1)

1.ลูกกระพ้อจากอดีตถึงปัจจุบัน

     ก่อนเขียนเรื่องนี้ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากลูกค้ารายหนึ่ง เมื่อลูกค้าบอกว่าต้องการที่จะเปลี่ยนลูกกระพ้อที่ติดมากับเครื่องจักรจากต่างประเทศ ให้เหมือนเดิมทุกประการทั้งรูปร่าง สีขนาดและชนิดของวัสดุหลังจากผู้เขียนได้สอบถามรายละเอียดการใช้งานตลอดจน Specification แล้วผู้เขียนเห็นว่าลูกกระพ้อผลิตในประเทศไทยสามารถทดแทนกันได้และใช้วัสดุที่มีคุณภาพที่ดีกว่า เพราะลูกกระพ้อที่ผลิตจากต่างประเทศนั้นวัสดุเป็น HDPE ราคาแพงและต้องใช้เวลานานในการขนส่งก่อนส่งมอบ ลูกค้าจะเสียโอกาสในการผลิตไป ดังนั้นผู้เขียนจึงแนะนำลูกค้าให้ใช้ลูกกระพ้อที่ผลิตในประเทศไทยที่มีรูปร่างใกล้เคียงกันและใช้วัสดุที่ดีและทนทานกว่าวัสดุอันเดิม แต่คำตอบจากลูกค้าก็คือ ลูกค้าปฏิเสธพร้อมกับพูดด้วยประโยคทองที่ทำให้ผู้เขียนถึงกับอึ้งแบบไปไม่เป็นว่า ....  ใครจะรับผิดชอบหากของใหม่ดีไม่เท่าเดิม เกิดเครื่องจักรต้องหยุดงานความเสียหายเป็นล้าน คุณรับผิดชอบได้มั๊ย ” ผู้เขียนได้แค่คิดในใจว่า...เรื่องอย่างนี้แค่เปิดใจฟังเหตุฟังผลก่อนน่าจะเป็นประโยชน์ร่วมกันได้ลูกกระพ้อราคาแค่หลักร้อยกำไรแค่หลักสิบอะไรกันนักหนาจะให้รับผิดชอบได้มากมายขนาดเป็นล้านนั้นมันเว่อไปหน่อย ก็เลยตั้งใจเขียนเรื่องนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย และผู้ใช้งานมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์เรื่องจริงยิ่งต้องรู้เกี่ยวกับลูกกระพ้อ ปัญหาความเข้าใจไม่ตรงกันนี้จะเป็นเรื่องง่ายที่จะจูนความคิดของผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย ผู้ใช้งาน ให้เข้าใจร่วมกันได้ ประโยชน์ก็จะเกิดกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ใช้งานและเจ้าของโรงงานผู้จ่ายเงิน เพราะผู้ขายก็สามารถขายของได้มีกำไรผู้ใช้งานและเจ้าของโรงงานก็ได้สินค้าที่ดีประหยัดราคาถูกและก็ส่งมอบได้รวดเร็วดังนั้นเรามาทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์ลูกกระพ้อกันการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน และเป็นการบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา

 เรื่องของกระพ้อลำเลียงเป็นเรื่องเก่านานมากแล้ว เท่าที่ผู้เขียนสืบค้นดูข้อมูลพบว่ากระพ้อลำเลียงใช้มานับพันปีแล้ว (ตั้งแต่ก่อนพระเยซูเกิด 225 ปี) ถ้านับจนถึงปีนี้คือปี ค. ศ 2017 ก็รวมเป็น 2,242 ปี ขณะเดียวกันแม้ว่าจะใช้มานานแต่ปัจจุบันก็ยังใช้กระพ้อลำเลียง กันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆ ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานให้แปลกออกไปจนมีนัยยะสำคัญจากเดิมไปสักเท่าไหร่ ถ้าคิดง่ายๆ แบบสามัญชนคนธรรมดา ของอย่างนี้มันจะต้องมีดีแน่ๆ ไม่เช่นนั้นมันจะทนทานต่อการพิสูจน์อยู่ยั้งยืนยงจนกระทั่งถึงปัจจุบันได้อย่างไร ดังนั้นกระพ้อลำเลียงต้องเป็นระบบที่มีอะไรดีอยู่ในตัว เรามาเริ่มเรียนรู้กันเลยดีไหม

                                                                                                                              รูป 1 กระพ้อลำเลียงแบบใช้โซ่ (Philo 225 B.C) ตั้งแต่2,242 ปีที่ผ่านมา

 

          ในอดีตความเจริญทั้งหลายจะเกิดขึ้นที่ยุโรป ก่อนที่จะย้ายมารุ่งเรืองอย่างใหญ่โตมโหฬารที่อเมริกาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมดังนั้นอเมริกาจะเป็นเจ้าแห่งความรู้ในยุค100ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง ประดิษฐ์เครื่องจักรต่างๆมากมาย มีการทำโฆษณาค้าขายแบบยุคใหม่ผ่านวารสารต่างๆ

 

                                                                                                                           รูป 2 ในสหรัฐอเมริกามีการขายเครื่องจักรและระบบกระพ้อลำเลียงก่อนปี ค.ศ 1851

 

 

                                                                                                                                               รูป 3 วารสารรวบรวมโฆษณาขายระบบกระพ้อลำเลียงอย่างเป็นการค้าจริงจัง                                                       ในสหรัฐอเมริกาตัวอย่างนี้เป็นวารสารประจำเดือน วันที่ 18 มีนาคม คศ 1908

 

 

รูป 4 ตัวอย่างของลูกกระพ้อ CLEVELAND ซึ่งโฆษณาในวารสารนี้วันที่ 18 มีนาคม ค. ศ. 1908

 

 

                                    รูป 5 สายพานกระพ้อของ LINKBELT ก็ใช้มาแต่ยุคนั้นแล้วโฆษณาในวารสารวันที่ 18 ค. ศ. 1908

 

 

2.กว่าจะมาเป็นรูปทรงของลูกกระพ้อ

     มากกว่า 100 ปีที่ผ่านมา แต่ละบริษัทหรือแต่ละบุคคลมีการค้นคิดลูกกระพ้อรูปทรงต่างๆ กันอย่างหลายหลากตั้งชื่อกันเองและจดสิทธิบัตรเพื่อป้องกันการเลียนแบบดังเช่นตัวอย่างบางส่วนของการจดสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาข้างล่าง

รูป 6 จดสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับลูกกระพ้อเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ 1874

 

 

                                           รูป 7 จดสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับลูกกระพ้อเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ 1883

 

 

 

                                        รูป 8 จดสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับลูกกระพ้อเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1886

 

 

3.รูปทรงของลูกกระพ้อมาตรฐานแบบแรงหนีศูนย์กลาง(Centrifugal Discharge Elevator Bucket)

     มีการทดลองและออกแบบลูกกระพ้อสำหรับวัสดุแบบที่ไหลได้ง่าย (Free Flow) ที่ใช้ในระบบกระพ้อลำเลียงแบบใช้แรงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) ผลปรากฏว่าได้รูปแบบลูกกระพ้อแบบมีก้นมน (Round) เพื่อให้ง่ายแก่การจ่าย (Discharge) วัสดุ ส่วนที่วัสดุจะออกง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับค่ามุมค่ามุม T ที่ปากของลูกกระพ้อ และค่ามุม B ที่ก้นของลูกกระพ้อที่ ถ้าปาก (Lip) ของลูกกระพ้ออยู่ต่ำ (มุม T น้อย-Capacity น้อย) วัสดุก็จะไหลง่าย ถ้าสูงก็ไหลยากขึ้น  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับแต่งมุม T และ B ให้เหมาะสมกับความเร็วของสายพานปริมาณการขนถ่าย ชนิดและคุณสมบัติการไหลของวัสดุที่ลำเลียง

                                                                 รูป 9 รูปทรงกระพ้อแบบก้นมน (Round) มาตรฐานทั่วไป (Typical)                                                                    ออกแบบสำหรับระบบกระพ้อลำเลียงแบบใช้แรงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator)

 

 

      พิจารณาจากรูปลูกกระพ้อที่แสดงในรูป 9  จะเห็นความสัมพันธ์ของมุม T ที่ปากของลูกกระพ้อและมุม B ที่ก้นของลูกกระพ้อ  ลองนึกภาพดูหากลูกกระพ้อจะสามารถจ่ายวัสดุออกได้อย่างหมดจด (Clean Discharge) ได้โดยง่าย  ปาก (Lip) ของลูกกระพ้อจะต้องอยู่ต่ำๆนั่นคือค่ามุม  T ต้องมีค่าน้อย และมุม B จะต้องมีค่ามาก แต่ถ้ามุม T มีค่าน้อยเกินไปปากลูกกระพ้อจะอยู่ต่ำมาก (ตัวอย่าง Style B หรือ Style C) จะทำให้วัสดุกระฉอกกระเด็นออกได้ขณะที่ลำเลียงวัสดุในขาขึ้น (UpLeg) ดังนั้นผู้ผลิตลูกกระพ้อจึงต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของรูปทรงลูกกระพ้อเป็นการประนีประนอมกัน (Compromise) ระหว่างมุมTและมุม B เพื่อให้เหมาะสมกับปริมาณการขนถ่าย (Capacity) ความเร็วของสายพาน (Belt Speed) และชนิดของคุณสมบัติการไหลของวัสดุที่ลำเลียง

   ดังนั้นเมื่อเราทราบหลักการข้างต้นเราก็จะสามารถเลือกรูปร่างลักษณะของลูกกระพ้อ  ให้เหมาะสมกับระบบความเร็วสายพาน (Belt Speed) ปริมาณการขนถ่าย (Capacity)  และเหมาะสมกับคุณคุณสมบัติการไหลของวัสดุที่เราลำเลียงได้

 รูป 10 ตัวอย่างรูปทรงประเภทขนาดของมุมของลูกกระพ้อเหล็กเชื่อมและลูกกระพ้อเหล็กหล่อ

 

 

 

รูป 11 ตัวอย่างลูกกระพ้อแบบ SALEM โฆษณาในสหรัฐอเมริกาช่วง ค. ศ. 1908

 

 

 

4.ประเภทของลูกกระพ้อ(Kinds of Elevator Buckets) แบบแรงหนีศูนย์กลาง

   หลายร้อยปีมาแล้วเป็นยุคทองของโลหะ เพราะโลหะถูกนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ไม้สอยและเครื่องมือต่างๆมากมายขณะที่เทคโนโลยีด้านพลาสติกยังไม่แจ้งเกิด ดังนั้นเราลองมาย้อนกลับมาดูพัฒนาการของ ประเภทลูกกระพ้อโลหะว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง เมื่อเทียบกับลูกกระพ้อโลหะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

         4.1 Seams Buckets เป็นลูกกระพ้อเหล็กแบบมีตะเข็บ โดยวิธีการเชื่อมหรือว่ายึดด้วย หมุดเหล็ก โดยใช้เหล็กเกรด 24 หรือเกรด 26 ดัด (Bend) เป็นโครงตัวลูกกระพ้อ (Body) และเสริมความแข็งแรงรอบปากลูกกระพ้อทุกด้านด้วยแถบแผ่นเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ในการขุด (Dig) และป้องกันการเสียรูปเนื่องจากการบิดตัวตลอดจนสามารถให้น็อตยึดลูกกระพ้อกับสายพานได้อย่างแน่นและแข็งแรง

                                                      รูป 12 Buffalo Bucket (ลูกกระพ้อแบบหลังโค้ง) เป็น Seams Buckets

 

 

          ข้อดีของลูกกระพ้อแบบนี้คือด้านหลังจะโค้งมนไปตามความโค้งของมู่เล่ เพื่อลดแรงดึงของน็อต บนสายพานขณะที่ตัก(Dig) วัสดุขณะเดียวกันก็จะมีข้อเสียคือจะเกิดแรงเฉพาะจุดแบบเข้มข้นอย่างมาก(Concentrate Force)ที่จุดนั้นบนสายพานซึ่งจะทำให้สายพานที่ตำแหน่งนั้นขาดได้ 

รูป 13 Rail to Bucket

 

 

          Rail to Bucket เป็นลูกกระพ้อที่ปากอยู่ตำแหน่งต่ำและมุมที่ก้นผายมากขึ้นกว่าแบบ Buffalo ดังนั้นจึงสามารถวางลูกกระพ้อบนสายพานให้ใกล้ชิดกันได้มาก เหมาะสมกับระบบสายพานกระพ้อที่มีความเร็วสูง ลูกกระพ้อประเภทนี้มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายและบริษัทผู้ผลิตต่างก็ผลิตและตั้งชื่อยี่ห้อของลูกกระพ้อเป็นของตัวเองโดยไม่ได้อิง Standard จากอะไร

                                           รูป 14 ระบบกระพ้อและสกรูลำเลียงโฆษณาในวารสารในสหรัฐอเมริกาวันที่ 18 ค. ศ. 1908                                      แม้ในปัจจุบันนี้ผู้ผลิตกระพ้อลำเลียงก็มักจะผลิตสกรูลำเลียงด้วยกันเสมอ

 

 

 

                                                          รูป 15 ตัวอย่างลูกกระพ้อแบบเหล็กเชื่อมมีตะเข็บที่ขายอยู่ในปัจจุบัน

 

 

          4.2 Pressed and Rivet Bucket เป็นลูกกระพ้อเหล็กชิ้นเดียวปั๊มขึ้นรูป ด้านหน้าปากตรง ก้นมน แผ่นด้านหลังเพิ่มความแข็งแรงด้วย Rivet หรือ เชื่อมเป็นจุด (spot weld) สามารถทำได้ความหนาหลายขนาดและทำได้ทั้งแบบสไตล์ Aและสไตล์ B ส่วนแตกต่างคือปากของลูกกระพ้อจะอยู่สูงหรืออยู่ต่ำกว่าแบบ Slam แค่นั้นเอง

 

รูป 16 ลูกกระพ้อแบบSalemเป็นลูกกระพ้อที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน

 

 

                                                                                         รูป 17 Style A  Acme Bucket

 

 

 

รูป 18 Style B  Acme Bucket 

 

 

          4.3 Seamless Sheet –Steel Buckets เป็นลูกกระพ้อเหล็กชิ้นเดียวปั๊มขึ้นรูปทำจากแผ่นเหล็กในรูปร่างคล้าย Salem Bucket

รูป 19 โฆษณาขาย Seamless Sheet Steel Buckets

 

 

     4.4 Malleable -Iron Buckets เป็นลูกกระพ้อเหล็กหล่อ (White Iron) โดยใช้แม่พิมพ์ 

                                                                   รูป 20 Malleable -Iron Buckets สไตล์ต่างๆ A-AA-B-C

 

 

5.ภาพรวมมาตรฐานของลูกกระพ้อประเภทต่างๆ

          ลูกกระพ้อเหล็กใช้กันมานานนับร้อยปีโดยไม่มีการทำมาตรฐาน ต่างคนต่างทำกันออกมา จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1908 ผู้ผลิตต่างๆ ได้ร่วมกันจัดทำมาตรฐานรูปร่างและขนาดของลูกกระพ้อเหล็กหล่อ(WhiteIron)ออกมาเป็นสไตล์ A,AA,B,และ C โดยลูกกระพ้อตระกูลนี้จะมีก้นกลมมนมีรัศมีค่อนข้างมน ด้านปากจะผายออก 6 องศาไปทางด้านหลังของลูกกระพ้อ (คล้าย Style A)

รูป 21 มาตรฐานMalleable Iron Buckets สไตล์ต่างๆ A-AA-B-C

 

 

          เนื่องจากภายในลูกกระพ้อเหล็กหล่อ (White Iron) ไม่มีรอยต่อและบริเวณมุมก็ลบเหลี่ยมให้มน ดังนั้นวัสดุจึงสามารถสาด (จ่าย-Discharge ) ออกเกลี้ยงได้อย่างหมดจด ลูกกระพ้อแบบเหล็กหล่อนี้สามารถทำให้หนาและแข็งแรง มี stiffness มากกว่าลูกกระพ้อเหล็กประเภทอื่นๆได้ ดังนั้นจึงทนทานต่อการขัดสี (Abrasion) และการบิดงอเสียรูปได้ดีกว่าลูกกระพ้อเหล็กประเภทตัดแล้วเชื่อม (Fabricated Steel)

           ปัจจุบันนอกจากลูกกระพ้อเหล็กหล่อ (White Iron) แล้ว ผู้ผลิตได้ใช้โลหะประเภทต่างๆหลายชนิดทำลูกกระพ้อ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น เช่น Ductile Iron,Grey Iron,0.3% ,Cast Iron รวมทั้งทำเป็นลูกกระพ้อ Plastic ด้วย

          ผู้เขียนขอสรุปรูปร่างต่างๆบางส่วนของลูกกระพ้อ ในปัจจุบัน(และยังคงมีอีกมากและมีออกมาเรื่อยๆตามแต่ผู้ผลิตจะทำออกมา) ให้เห็นเป็นภาพรวมง่ายๆตามรูปข้างล่างนี้

 

 

                                                                                                                          รูป 22 รูปทรงต่างๆของลูกกระพ้อ

 

 

     ลูกกระพ้อสไตล์ A  ผู้เขียนถือว่าเป็นต้นแบบตัวแม่และเป็นลูกกระพ้อพื้นฐาน(Fundamental) ของลูกกระพ้ออื่นๆทั้งหมดออกแบบสำหรับระบบกระพ้อแบบใช้แรงหนีศูนย์กลาง ส่วนลูกกระพ้อประเภทอื่นๆเป็นลูกกระพ้อที่ดัดแปลงจากลูกกระพ้อสไตล์ A  เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานตามลักษณะพิเศษและเหมาะสมกับชนิดและคุณสมบัติที่ต่างกันของวัสดุที่ลำเลียงสรุปได้ดังนี้

  • ลูกกระพ้อสไตล์ A ฮิตมากเป็นต้นแบบหรือเป็นลูกกระพ้อพื้นฐาน (Fundamental) ใช้ลำเลียงวัสดุวัสดุทั้งประเภทอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็นก้อน เช่นถ่านหิน แร่เหล็ก (Iron  Ore) ขี้เถ้า (Ash) และสารเคมีหรือผลิตผลทางการเกษตรที่มีลักษณะเป็นเม็ดก็ได้
  • ลูกกระพ้อสไตล์ AA ลักษณะเหมือนสไตล์ A แต่เสริมปากและมุมให้แข็งแรงมากขึ้นเพื่อให้ทนทานต่อในการขุด (Dig) และให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ใช้ลำเลียงวัสดุที่มีลักษณะคุณสมบัติในการขัดสีสูง (High Abrasive) 

 

รูป23 AA style รูปร่างเหมือน Style A แต่เสริมปากให้หนาขึ้น

 

 

  •   ลูกกระพ้อสไตล์ AA-RB  อาจเป็นลูกกระพ้อ Ductile Iron หรือพลาสติกที่นอกจากจะเสริมความหนาของปากให้มีความแข็งแรงแล้ว ยังเสริมความแข็งแรงโครงสร้างของตัว Body ด้านหลัง เพื่อความทนทานในการขุด (Dig) และเพิ่มอายุการใช้งาน ใช้ลำเลียงวัสดุที่มีคุณสมบัติในการขัดสีสูง (High Abrasive)

รูป 24 ลูกกระพ้อสไตล์ AA-RB

 

 

  •   ลูกกระพ้อสไตล์ B มีปากที่อยู่ต่ำกว่าลูกกระพ้อสไตล์ A ดังนั้นจึงมีความจุ (Capacity) น้อยกว่าลูกกระพ้อสไตล์ A นิยมใช้ในระบบกระพ้อลำเลียงแบบเอียง (Inclined Elevator) ที่ใช้ความเร็วไม่สูงมากนัก เหมาะสำหรับลำเลียงวัสดุที่ไหลยากหรือเหนียว (Sticky) ซึ่งจะจ่าย (Discharge) ออกไม่หมดในกรณีที่บรรจุอยู่ในลูกกระพ้อสไตล์ A  แต่จะไหลหรือจ่าย (Discharge) ออกได้ดีขึ้นเมื่อใช้ลูกกระพ้อสไตล์B เพราะปากลูกกระพ้อสไตล์ B อยู่ต่ำ
  •  ลูกกระพ้อสไตล์ C มีปากต่ำใช้สำหรับลำเลียงวัสดุที่มีความเหนียว (Sticky) และชอบติดอยู่ที่ก้นของลูกกระพ้อ

รูป 25  ลูกกระพ้อสไตล์ C

 

 

  • ลูกกระพ้อสไตล์ SC เป็นลูกกระพ้อ Ductile Iron ผิวเรียบไม่มีรอยต่อ ติดตั้งบนสายพานหรือโซ่ก็ได้ มีก้นมน (Round) ใช้สำหรับลำเลียงวัสดุที่มีความเหนียว (Sticky) มีปริมาณความจุ (Capacity) มากกว่าแบบ AA 

รูป 26 ลูกกระพ้อสไตล์ SC

 

 

  • ลูกกระพ้อสไตล์ AC เป็นลูกกระพ้อ Ductile Iron ติดตั้งบนสายพานหรือโซ่ก็ได้ ขอบปากด้านหน้าสูงเพื่อให้ได้ปริมาณการขนถ่ายลำเลียงสูง ปากหนาเพิ่มความแข็งแรงในการขุดและ ทนทานต่อการเสียรูป ด้านหลังอาจพับลงมาลดความสูงลง เพื่อให้สามารถติดลูกกระพ้อให้ชิดกันมากยิ่งขึ้น สามารถเจาะรูดที่ก้นเพื่อให้การ Load และ Discharge มีประสิทธิภาพ จุดเริ่มต้นของออกแบบมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ที่ใช้ลำเลียงวัสดุที่เป็นเม็ดที่ร่อนผ่านตะแกรงมีขนาดเล็กมากหรือเป็นผงที่ไหลได้ง่าย (Free Flow) และมีการขัดสีสูง (Highly Abrasive) 

รูป 27 ลูกกระพ้อสไตล์AC

 

 

  •  ลูกกระพ้อสไตล์ D ทำโดยการเชื่อมเหล็กแผ่น สำหรับกระพ้อลำเลียงแบบต่อเนื่อง (Continuous Bucket Elevator) มีปากสูงมาก และสูงปานกลางให้เลือก ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมเพื่อให้วัสดุสามารถเทออกได้ง่าย 

รูป 28 ลูกกระพ้อสไตล์D (ตรงกับ Link belt style HFO แล้วแต่ใครจะตั้งชื่อ)

 

 

 

                                                         รูป 29 ลูกกระพ้อสไตล์ D ลดความสูงด้านหลังเพื่อให้ติดลูกกระพ้อ                                                                ให้ชิดกันมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่ม Capacity

 

 

 

รูป 30 การติดตั้งลูกกระพ้อลำเลียงแบบต่อเนื่อง (Continuous Bucket Elevator)

 

 

 

6.  109 ปีผ่านไปรูปทรงของลูกกระพ้อเปลี่ยนไปแค่ไหน?

          เรื่องของลูกกระพ้อที่จะคุยต่อไปนี้เป็นความเห็นจากข้อสังเกตส่วนตัวล้วนๆของผู้เขียน  ขอให้ผู้อ่านช่วยพิจารณาเนื้อเรื่องไปพร้อมๆกับผู้เขียนว่าจะเห็นด้วยหรือขัดแย้งอย่างไรก็ได้ไม่ว่ากัน เพราะการผลิตลูกกระพ้อมีการวิวัฒนาการเรื่อยๆ มาตามแต่ที่ผู้ผลิตแต่ละรายเป็นคนทำออกมาและก็เคลม (Claim) ว่าลูกกระพ้อของตัวเองที่มีความพิเศษและดีกว่าของคนอื่น ตลอดจนตั้งชื่อตามสไตล์ตัวเองตามแต่จะสะดวกของแต่ละผู้ผลิต ผู้เขียน (รวมทั้งผู้อ่าน) ไม่มีเวลาไป Update เรื่องราวเหล่านี้อย่างจริงจัง ดังนั้นเราจะต้องรู้และกอดหลักการให้แน่นเอาไว้ก่อน ไม่ว่าผู้ขายจะโม้สรรพคุณความดีของลูกกระพ้อของเขายังไง ส่วนการจะเลือกลูกกระพ้อแบบไหนก็เป็นเรื่องของเรา เมื่อหลักการเราชัดเจนแล้วการเลือกผิดจะไม่เกิดขึ้นเป็นอันขาด

          เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้อ่านที่ติดตามเว็บไซต์ของเรา ผู้เขียนได้รวบรวมลูกกระพ้อที่ผู้เล่นขาใหญ่ผลิตขายอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันมาให้ผู้อ่านได้พิจารณา จากรูปจะเห็นว่าผู้ผลิตรายใหญ่จะบอกเฉพาะข้อมูลของระยะ (Dimensions) และความจุ (Capacity) น้ำหนัก (Weight) ของลูกกระพ้อเท่านั้นแต่ก็จะไม่ได้บอกหลักความรู้ว่าวิธีเลือกต้องทำอย่างไร ตลอดจนเหตุผลว่าทำไมรูปทรงของลูกกระพ้อเหล่านี้จึงแตกต่างกัน เราจะเลือกใช้ยังไงถึงจะเหมาะสมกับระบบของเรา ให้สังเกตว่าผู้ผลิตจะตั้งชื่อสไตล์ของลูกกระพ้อและตั้งชื่อเรียก Code ที่เขาสร้างขึ้นมาของใครของมัน บริโภคก็คงงงๆ  แต่ถ้าเรามีหลักการที่ยึดแน่นๆแล้วเราก็จะสามารถเลือกลูกกระพ้อที่ถูกต้องได้เอง เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก(Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ(Principle) และเหตุผล(Reasons) ว่าจะต้องทำยังไง(How) และทำไม(Why) จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง

 

รูป 31 รวมชื่อเรียกและรุ่นของลูกกระพ้อที่ผู้ผลิตจำหน่าย (Source 4B)

 

 

รูป 32 ลูกกระพ้อรุ่น Atlas AA บอกอย่างนี้พอเดาStyle ได้บ้าง (Source 4B)

 

 

 รูป 33 ลูกกระพ้อรุ่น Atlas MF บอกอย่างนี้เดายาก (Source 4B) 

 

 

 

รูป 34  รวมชื่อเรียกและรุ่นของลูกกระพ้อที่ผู้ผลิตจำหน่าย (Source Tapco Inc.)

 

 

รูป 35 ลูกกระพ้อ AAFabricated Steel บอกอย่างนี้ชัดเจน (Source Tapco Inc.)

 

 

                                                      รูป 36 ลูกกระพ้อ AADuctile Iron บอกอย่างนี้ชัดเจน (Source Tapco Inc.)

 

                                                           รูป 37 ลูกกระพ้อ AAUrethane บอกอย่างนี้ชัดเจน (Source Tapco Inc.)

 

 

รูป 38 ลูกกระพ้อ AC บอกอย่างนี้ชัดเจน (Source Tapco Inc.)

 

 

                                                      รูป 39 ลูกกระพ้อ CC รูปทรงใหม่ๆที่ผลิตขึ้นมาระยะหลัง (Source Tapco Inc.)

 

 

                                                  รูป 40 ลูกกระพ้อ Plastic สไตล์ A, AA ที่ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดจำหน่าย

 

 

รูป 41 ลูกกระพ้อเหล็กเชื่อม สไตล์ A ที่ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จำหน่าย

 

 

รูป 42 ลูกกระพ้อ สายพาน Backstop บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จำหน่าย

 

 

ยินดีแบ่งปันความรู้แวะมาที่ Show Room ของเราได้

..อย่าลืมติดตาม ตอน ที่ 2 รับรอง  เจ๋งกว่าที่นึก...ลึกกว่าที่คิด..”

          ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์

     เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก(Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ(Principle) และเหตุผล(Reasons) ว่าจะต้องทำยังไง(How) และทำไม(Why) จะต้องทeอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง

     ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt), สายพานกระพ้อ (Elevator Belt)  สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt)  สายพาน PVC BELT , PU BELT, , สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

     ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดัง MOTTO “ บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ “เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง” อย่างจุใจจริงๆ” “ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน”

     ขอขอบคุณ  Supplier ทั้งใน อเมริกา ยุโรปและเอเชีย ที่ให้โอกาสเราได้เยี่ยมชมโรงงานและขบวนการผลิตตลอดจนให้ข้อมูลด้านเทคนิคลึกๆที่เป็นประโยชน์....ขอบคุณปัญหาทุกรูปแบบที่ทุกผู้บริโภคหรือผู้อ่านเป็นผู้นำโอกาสมาให้เราได้เรียนรู้....ขอบคุณผู้ที่เขียนตำราทั้งใน Website และText book…. ขอบคุณเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์....ขอบคุณ Maker ผู้สร้างเครื่องจักรทั้งหลาย ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆที่เป็นประโยชน์ และสุดท้ายขอบคุณฝ่ายMaintenance ฝ่ายจัดซื้อและบัญชีการเงินของลูกค้าทุกท่านที่จ่ายเงินตรง Due....เราหวังว่าเราจะเดินทางไกลไปพร้อมๆกับคุณ ..If you want to walk fast…work alone. If you want to walk far...walk together. จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน ‘Together we Share’ ผลงานที่นำมาเสนอ อาจจะ ออกช้าบ้างแต่ที่แน่ๆคือมันจะมีออกมาเรื่อยๆ....นี่คือคำสัญญาจากเรา