13. การหุ้มพู่เลย์ด้วยแผ่นยางสำเร็จรูป           (Lagging Pad) คุณทำเองได้

1.เมื่ออ่านเรื่องนี้จบแล้วท่านจะได้อะไรบ้าง

     1.1 ท่านสามารถประเมินได้ว่าท่านสามารถหุ้มพู่เลย์ด้วยตัวเองได้หรือไม่

     1.2 ท่านสามารถประเมินได้ว่าจะต้องใช้เวลาในการ Shut Down Conveyor                              นานแค่ไหน

     1.3 ท่านสามารถประเมินในภาพรวมได้ว่าประหยัดเงินและประหยัดเวลาได้แค่ไหน

     1.4 ท่านสามารถประเมินในภาพรวมได้ว่าท่านสามารถเพิ่มผลผลิตจากเวลาที่                        ประหยัดได้แค่ไหน

     1.5 ท่านสามารถประเมินในได้ว่ าการซ่อมบำรุงทำได้ง่ายกว่าเดิมหรือไม่

 

2. Lagging pad คือ อะไร

     Lagging Pad คือ แผ่นยางสำเร็จรูปที่ติดแน่นบนแผ่นเหล็ก โดยวิธีการอบร้อนจากโรงงาน ใช้สำหรับหุ้มพู่เลย์โดยไม่ต้องถอด Pulley ออกมาจากระบบได้

รูปแสดงขนาด Lagging pad และ Retainer

 

 

รูปแสดงโครงสร้าง Lagging pad ด้านสัมผัสกับสายพาน 

 

รูปแสดงโครงสร้าง Lagging pad ด้านสัมผัสกับสายพาน 

 

 

รูปแสดงโครงสร้าง Retainer

 

   

แผ่นยางสำเร็จรูป (Lagging pad) ด้านที่ติดกับสายพานจะเป็นยางส่วนด้านที่ติดกับพู่เลย์จะเป็นเหล็ก

3. การหุ้มพู่เลย์ด้วย  แผ่นยางสำเร็จรูป (Lagging pad)

      แผ่นยางสำเร็จรูป (Lagging pad)  ออกแบบมาให้ง่ายและสะดวกในการนำไปหุ้มพู่เลย์ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานมากนัก ดังนั้นจึงสามารถทำการหุ้มพู่เลย์ได้ที่หน้างานในระบบโดยไม่ต้องถอด Pulley ออกมาก็ได้ หรือจะถอดแล้วนำมาหุ้มที่โรงงานก็ได้ การหุ้มพู่เลย์แบบใช้แผ่นยางสำเร็จรูปนั้นช่างทั่วไปก็สามารถทำได้ ไม่ต้องการทักษะพิเศษอะไร แค่คิดเลขได้ ตัด-เชื่อมได้แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการหุ้มพู่เลย์แบบนี้ จะแตกต่างกับการหุ้มพู่เลย์แบบร้อน (Hot Vulcanization) ที่ต้องใช้เครื่องจักร/เครื่องมือพิเศษ เครื่องมือขนาดใหญ่และต้องการทักษะเฉพาะของช่างในการบังคับเครื่องจักร หรือในการผสมยาง Compound เพื่อนำมาหุ้ม ถึงจะทำได้ การหุ้มพู่เลย์แบบร้อน (Hot Vulcanization) ไม่สามาถนำเครื่องมือดังกล่าวมายังหน้างาน (Site)ได้

การหุ้มร้อนจะต้องมีเครื่องผสมยางและเครื่องฉีดยางและเครื่องกลึง

 

     ส่วนการหุ้มแบบเย็น (Cold Vulcanization) ถึงแม้ว่าจะสามารถทำที่หน้างานได้ แต่ต้องการช่างที่มีทักษะในการทำงานสูงและมีประสบการณ์อีกทั้งสภาวะสิ่งแวดล้อมที่หน้างานจะต้องเอื้ออำนวยให้เป็นอย่างดี เช่นฝนไม่ตก ความชื้นไม่มาก อุณหภูมิไม่ลดต่ำมากจนเกิดฝ้าไอน้ำ พื้นที่ทำงานต้องสะอาด ฝุ่นไม่เลอะไม่ปลิวจับพื้นผิวของพู่เลย์ ซึ่งเงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ที่หน้างาน ทำให้ผลงานการหุ้มที่ออกมามีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้ง่าย

การหุ้มเย็นที่หน้างานลูกพู่เลย์จะต้องสะอาดปราศจากฝุ่น

(ภาพนี้จะเห็นฝุ่นเยอะมาก)

 

การหุ้มพู่เลย์แบบเย็นที่หน้างานจะต้องควบคุมความชื้นและอุณหภูมิให้ดีตามข้อกำหนด

 

     เมื่อเปรียบเทียบกับการหุ้มยางพู่เลย์แบบใช้แผ่นยางสำเร็จรูป (Lagging Pad)  ที่ส่วนประกอบมีเพียง แผ่นยางสำเร็จรูป (Lagging Pad) และ เหล็กยึด (Retainer) เท่านั้น ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการหุ้มยางก็ใช้เพียงเครื่องมือทั่วไป ซึ่งปกติในโรงงานของท่านก็มีใช้งานกันอยู่แล้วคือ ตลับเมตร ค้อน เครื่องตัดเหล็ก และตู้เชื่อม เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถทำการหุ้มยางพู่เลย์ของท่านเองได้แล้ว เมื่อท่านอ่านมาถึงจุดนี้ท่านอาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่าเอ๊ะ? การหุ้มพู่เลย์แบบใช้ Lagging Pad  มันง่ายขนาดนั้นเชียวหรอ? แล้ววิธีการหุ้มล่ะมันทำยังไง? เรายินดีบอกท่านหมดทุกขั้นตอน ดังสโลแกนของบริษัท “บอกทุกเรื่องที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้”

4.ขั้นตอน วิธีการหุ้มพู่เลย์แบบใช้ Lagging Pad 

                วิธีการหุ้มพู่เลย์แบบใช้ Lagging pad  นั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนมากมาย  โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.) เตรียมผิวพู่เลย์ให้สะอาด ปราศจากคราบสกปรกหรือคราบน้ำมัน 

รูปแสดงการเตรียมผิวพู่เลย์ให้สะอาด ปราศจากคราบสกปรกหรือคราบน้ำมัน

2.) วัดขนาดหน้ากว้างของพู่เลย์ เพื่อใช้เป็นระยะในการตัด Lagging pad  และ Retainer ให้ได้ขนาดเท่ากับหน้ากว้างของพู่เลย์

รูปแสดงการวัดขนาดความกว้างของพู่เลย์ 

3.) ตัด Lagging pad และ เหล็กยึด (Retainer) ให้ได้ขนาดเท่ากับความกว้างของพู่เลย์

    

รูปแสดงการตัด Lagging Pad และ เหล็กยึด (Retainer)

 

    

รูปแสดง Lagging Pad และ Retainer ที่มีขนาดเท่ากับหน้ากว้างของพู่เลย์

 

4.) นำ Lagging pad แผ่นที่ 1 มาวางให้พอดีกับขอบของพู่เลย์ ทั้ง 2 ข้าง แล้วล็อค ที่ปลายทั้งสอง ให้แน่น จากนั้นนำ Lagging pad แผ่นที่ 2 วางบนพู่เลย์ โดยเว้นให้มีระยะห่างจากแผ่นที่ 1 ประมาณ 1 นิ้ว (เท่ากับความกว้างของเหล็กยึด Retainer) แล้วล็อคปลายทั้ง 2 ข้างให้แน่น จากนั้นติดตั้งเหล็กยึด (Retainer) เพื่อยึด Lagging pad โดยให้ปีกทั้ง 2 ข้างอยู่ในตำแหน่งล็อคขอบของ Lagging pad พอดี จากนั้นล็อคปลายทั้งสองข้างให้แน่น

    

รูปแสดงการวางและล็อก Lagging pad และ Retainer ลงบนพู่เลย์

5.) เชื่อมเหล็กยึด (Retainer) เข้ากับพู่เลย์ ที่บริเวณรูของ Retainer และเชื่อม (Spot Weld) ยึดบริเวณขอบของพู่เลย์กับขอบของ Lagging pad เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และป้องกัน Lagging pad เลื่อนออก (Slide) ด้านข้างขณะใช้งาน

    

รูปแสดงการเชื่อมยึด Lagging pad เข้ากับพู่เลย์

 

6.) ทำซ้ำในรูปแบบเดิมจนครบวงรอบของพู่เลย์ก็ถือเป็นอันเสร็จ สามารถนำพู่เลย์ไปใช้งานได้

    

รูปแสดงพู่เลย์ที่หุ้มยางเสร็จเรียบร้อย

5.การซ่อมบำรุง

         ในกรณีที่เกิดการชำรุดเสียหายของแผ่นยางสำเร็จรูปนั้น ใช้เวลาในการซ่อมบำรุงน้อยเนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำการถอดพู่เลย์ออกจากระบบสายพานให้ยุ่งยาก เพียงแค่ปรับ Take Up ทำให้สายพานหย่อน ให้พู่เลย์สามารถหมุนตัวได้ จากนั้นทำการหมุนพู่เลย์ตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยน Lagging pad ให้อยู่ในบริเวณที่มีพื้นที่ว่างเพียงพอ จากนั้นทำการถอด (Slide) Lagging pad ชิ้นเก่าที่ชำรุดออก นำ Lagging pad ชิ้นใหม่ใส่มาแทน และทำการเชื่อมยึดให้แน่นดังเดิม ก็สามารถใช้งานได้ทันที

การหุ้มพูเล่ย์ที่หน้างานจะต้องปลด Take up แล้วถ่างสายพานออกให้ลูกพู่เลย์หมุนได้

รูปแสดงการเปลี่ยน Lagging pad โดยการ slide แผ่นออก

 

                ซึ่งจะเห็นได้ว่าการหุ้มยางพู่เลย์แบบใช้แผ่นยางสำเร็จรูป (Lagging pad) สามารถเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสียหายได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยางหุ้มใหม่หมดทั้งลูกเหมือนการหุ้มแบบร้อนหรือแบบเย็น ทำให้สามารถลดเวลาและยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลงได้อีกด้วย

 

6.ตารางแสดงการเปรียบเทียบคุณลักษณะการหุ้มยางพู่เลย์ด้วยวิธีการต่างๆ

 

ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์

     เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก(Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของหลักการ (Principle) และ เหตุผล (Reasons) ว่าจะต้องทำยังไง (How) และ ทำไม (Why) จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง

     ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt), สายพานกระพ้อ (Elevator Belt)สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt)  สายพาน PVC BELT , PU BELT, , สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

     ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดัง MOTTO บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง” อย่างจุใจจริงๆ“ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน”

     ขอขอบคุณ Supplier ทั้งใน อเมริกา ยุโรปและเอเชีย ที่ให้โอกาสเราได้เยี่ยมชมโรงงานและขบวนการผลิตตลอดจนให้ข้อมูลด้านเทคนิคลึกๆที่เป็นประโยชน์....ขอบคุณปัญหาทุกรูปแบบที่ทุกผู้บริโภคหรือผู้อ่านเป็นผู้นำโอกาสมาให้เราได้เรียนรู้....ขอบคุณผู้ที่เขียนตำราทั้งใน Website และText book…. ขอบคุณเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์....ขอบคุณ Maker ผู้สร้างเครื่องจักรทั้งหลาย ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆที่เป็นประโยชน์ และสุดท้ายขอบคุณฝ่ายMaintenance ฝ่ายจัดซื้อและบัญชีการเงินของลูกค้าทุกท่านที่จ่ายเงินตรง Due....เราหวังว่าเราจะเดินทางไกลไปพร้อมๆกับคุณ ..If you want to walk fast…work alone. If you want to walk far...walk together.จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน ‘Together we Share’ ผลงานที่นำมาเสนอ อาจจะ ออกช้าบ้างแต่ที่แน่ๆคือมันจะมีออกมาเรื่อยๆ....นี่คือคำสัญญาจากเรา