รูปแบบการจัดวาง Back Stop

โดยทั่วไปแล้ว Low Speed Back Stop Type จะติดตั้งที่แกนเพลาซึ่งต่อขยายมาจาก Shaft ของ Drive Pulley ด้านตรงข้ามกับDrive Unit ตามรูปด้านล่าง

การติดตั้งลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการติดตั้งที่ดีที่สุดของ Low Speed Back Stop Typeในระบบลำเลียง เพราะประกอบติดตั้งง่ายแยกส่วนกับ Drive Unit ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม ดังนั้นจึงลดความยุ่งยากในการติดตั้งและบำรุงรักษาทั้ง Back Stop และ Drive Unit รวมถึงการซ่อมบำรุงและการติดตั้งตัว Back Stop เองอีกด้วย อย่างไรก็ตามในบางกรณีด้วยข้อจำกัดของพื้นที่, อุณหภูมิ, Gear, Pulley หรือ Drive Arrangement ทำให้มีความจำเป็นต้องติดตั้ง Back Stop ในตำแหน่งอื่นๆในลักษณะที่แตกต่างกันไปดังนี้

ลักษณะการติดตั้ง Back Stop สำหรับระบบลำเลียงใช้ Motor ขับตัวเดียวและ Back Stop เพียงตัวเดียวจากรูปจะสังเกตเห็นว่า Back Stop สามารถติดตั้งอยู่ข้างเดียวกับ Drive Unit ก็สามารถกระทำได้เช่นกันขึ้นอยู่กับ Design Lay Out ของGear Box

 

ลักษณะการติดตั้ง Back Stop แบบ 2 Unit Drive แต่ใช้ Back Stop เพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้นข้อควรระวังของการติดตั้งลักษณะนี้ก็ควรต้องแน่ใจว่า Back Stop ที่เลือกใส่ไปในระบบนั้นสามารถรองรับแรงบิด (Torque) ของชุดขับทั้งสองชุดได้อย่างแท้จริง

 

ลักษณะการติดตั้ง Back Stop แบบ 2 Unit Drive 2 Back Stop แนะนำให้เลือกใช้ Back Stop แต่ละตัว ที่แรงบิด (Torque) 60 % ของแรงบิดรวมเท่านั้น

 

ลักษณะการติดตั้ง Back Stop ร่วมกับชุด Dual Pulley Drive & 4 Unit Driveโดยต้องพิจารณาติดตั้ง Back Stop ถึง 4ชุด ส่วนมากการติดตั้ง Back Stop ในลักษณะนี้จะอยู่ในระบบลำเลียงที่มีขนาดใหญ่มาก

 

ลักษณะการติดตั้ง Back Stop ร่วมกับชุด Dual Pulley Drive & 2 Unit Drive


ท่านผู้อ่านคงได้ทราบลักษณะการติดตั้ง Low Speed Back Stop ทั้ง 5 ลักษณะกันไปแล้วนะครับในบทความต่อไปทีมงานจะเขียนถึงวิธีการประกอบและเทคนิคจับยึด Torque Arm มาให้ได้อ่านกันครับ


  • Backstop-10.jpg
    1.) เกิดอะไรขึ้น? เมื่อวัสดุไหลย้อนกลับ ระบบขนถ่ายลำเลียงวัสดุที่มีมุมเอียงในการขนถ่ายสามารถเกิดเหตุการณ์การไหลย้อนกลับของวัสดุลำเลียงได้เมื่อมอเตอร์ต้นกำลังขับชำรุด ไฟฟ้าดับเครื่...

  • Back Stop สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆด้วยกันคือ 1. ชนิดความเร็วสูง (High Speed Back Stop) Back Stop ชนิดความเร็วสูงนั้นมักจะติดตั้งที่ตำแหน่งเพลาภายในของ Gear Boxหรือเพลาของ...

  • Back Stop-01.jpg
    หลายท่านที่ได้ติดตามอ่านบทความจาก Conveyor Guide Co.Ltd. ก่อนหน้านี้ คงทราบหน้าที่การทำงาน และชนิดของ Back Stop กันไปบ้างแล้วนะครับ วันนี้ Conveyor Guide Co.Ltd. จะขอแนะนำ Back St...

  • Back Stop-04.jpg
    การติดตั้ง Back Stop เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนการผลิตเพราะการติดตั้งนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของ Back Stop การติดตั้ง Back Stop ใ...

  • 03.jpg
    หลายท่านที่ได้ดูหรืออ่าน Catalog Back Stop ของ Conveyor Guide กันไปแล้วก็คงจะสงสัยว่าทำไมมันไม่เห็นมี Detail ขนาดของลิ่มเลยแล้วจะออกแบบ ขนาดของร่องลิ่ม (Key Way) ที่เพลาของ Pulley ...

  • Back Stop-03.jpg
    ทำไมขนาดเพลาต้อง ISO STANDARD ขนาดเพลาที่เลือกหรือคำนวณได้นั้นเราควรจะต้องนำมาพิจารณาเลือกขนาดของ Diameter ตาม ISO Standard มีเหตุผลดังนี้ครับ 1. Component ของทุก Brand ในโลกต่าง...

  • Back Stop-09.jpg
    การคำนวณหา Torque เพื่อเลือกขนาดของ Back Stop ในระบบลำเลียงสามารถ ได้ 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 .จากแรงบิด (Torque) ที่เกิดขึ้นจริงในระบบสายพานลาเลียง การคำนวณและเลือก Back Stop จากวิธี...

  • Back Stop-06.jpg
    การเลือกขนาด(รุ่น)ของ Back Stop นั้นจะพิจารณาเลือกจากแรงบิด (Torque) เป็นปัจจัยหลักในการเลือกใช้แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆประกอบในการพิจารณาคำนวณและเลือกใช้หลายปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.กำลัง...

  • Back Stop-03.jpg
    มาเริ่มกันที่บทความแรกของเรากันเลยนะครับหากท่านมีข้อสงสัยอะไรก็ตาม ปรึกษาเราได้ทันที ตามช่องทางต่างๆด้านล่างครับในโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันผู้ผลิตในทุกๆภาคส่วนอุตสาหกรรม...