4) การออกแบบกระพ้อลำเลียง เปิดตาราง (แบบที่ 1)

การออกแบบกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator Design) เปิดตาราง (แบบที่ 1)

บทนำ

          เมื่อมีลูกค้าต้องการได้ระบบสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) สักต้นหนึ่ง ลูกค้าก็จะติดต่อบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสายพานลำเลียงหรือโรงงาน Fabrication ให้ออกแบบและผลิตให้ ซึ่งบริษัทส่วนมากก็จะสามารถตอบสนองผลิตและส่งมอบให้ได้โดยไม่ยากเย็นนัก แต่เมื่อถามผู้ที่เป็น Project Engineer หรือโรง fabrication หรือผู้ที่รับผิดชอบโครงการว่าได้ทำงานตามStep ที่ควรทำให้ครบวงจรทั้งระบบหรือไม่ เริ่มตั้งแต่ ได้ตรวจสอบความต้องการของลูกค้า ประเภทของวัสดุเป็น Industrial หรือ Agricultural Material ขนาดของวัสดุที่จะลำเลียง เพื่อเลือก Type ระบบสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) ที่เหมาะสม ได้ คำนวณ ออกแบบ เลือก Type ส่วนประกอบ (Component)ต่างๆก่อนผลิตหรือไม่ คำตอบส่วนมาก ก็คือ “ไม่ได้คำนวณ” ถามว่าแล้วทำงานเสร็จได้อย่างไร คำตอบก็คือใช้วิชา Copy แบบเดิม คือทำเหมือนของเดิมที่เคยๆทำกันมา วิธีนี้มีส่วนดี คือ เร็ว แต่ถูกหรือผิด ใช้งานได้ดีหรือไม่ดี ก็ไม่สามารถให้คำอธิบายแบบมั่นใจได้ รู้แค่ว่ามันหมุนได้และใช้งานได้ก็พอ ส่วนจุดอ่อนของการลอกข้อสอบแบบนี้ก็คือ ถ้าของเดิมผิดของใหม่ก็จะผิดและถ่ายทอด D.N.A ผิดๆต่อเนื่องกันไปจากรุ่นสู่รุ่น(ขออภัยหากท่านอื่นๆไม่ได้ทำตามที่เรากำลังยกตัวอย่าง) เราเชื่อว่ามีเรื่องที่เป็นความเชื่อผิดๆแต่เชื่อกันว่ามันถูกต้องโดยบริสุทธ์ใจ เคยเกิดขึ้นประมาณนี้ในทุกบริษัทแน่นอนไม่เชื่อไปถามเถ้าแก่ดู

          ยกตัวอย่างของจริงสักเรื่อง เมื่อกลางปี 2556 เพื่อนที่เคยร่วมทำงานด้วยกันมาเมื่อ 3 ปีที่แล้วคนหนึ่ง ได้มาเล่าให้ฟังว่าช่วงที่แยกกันมา  3 ปีได้ทำงานและติดตั้งสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) สำเร็จมาแล้ว ร่วม 30 ต้น หากมีโอกาสช่วยแนะนำลูกค้าที่อยากได้ สายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) ไปใช้งานให้ด้วย ผู้เขียนก็เลยสอบถามเรื่องทั่วๆไปและ ขอนำมาเล่าให้ฟังเพียงบางส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบ ว่าการออกแบบ คำนวณทำกันอย่างไร ใครเป็นคนทำ คำตอบที่เป็นมาตรฐาน คือ “ไม่ได้คำนวณ” Copy แบบเก่าๆต่อกันมาเรื่อยๆ พอดูรายละเอียดใน Drawing ก็พบว่ามีข้อมูลหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังไม่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการ ออกแบบที่ดี ไม่ว่าจะเป็น ความเร็วที่ต้องสัมพันธ์กับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Drive Pulley หรือระยะห่างของ Bucket ซึ่งมันจะเกี่ยวเนื่องกับ Capacity  และการสาด (Discharge) ของวัสดุ การวางตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องส่งผลให้เกิดการ ล่วง-หก-ตก-หล่น ของวัสดุ หรือตำแหน่งของintake ก็ไม่ถูกต้องทำให้การเติมวัสดุไม่มีประสิทธิภาพ และยังมีรายการอื่นๆที่เพี้ยนและไม่ได้กล่าวถึงอีก ความไม่ลงตัวเหล่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) ต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่โชคดีของเพื่อนคนนี้ที่สามารถส่งมอบงานไปได้ ทันทีที่เก็บเงินเรียบร้อย ระบบของกรรมจะเริ่มทำงานทันที เพราะกฎแห่งกรรมจะไม่เสื่อมสลายเช่นเดียวกับกับกฎของพลังงานมันเพียงเปลี่ยนจากกรรมของคนหนึ่งมาเป็นอีกคนหรือพ่วงกรรมของหลายคนไว้ด้วยกัน เมื่อกรรมเริ่มทำงาน ความโชคดีของเพื่อนที่เริ่มขึ้นก็จะแปรสภาพเป็นความโชคร้ายของเจ้าของงานในบัดดล และยังต้องผูกพันเป็นกรรมร่วมทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่มีความสุขตลอดเวลาที่ยังอยู่ในสัญญาการค้ำประกัน 1 ปี

            สำหรับเจ้าของงานก็อยากได้ของดีราคาถูกบอกได้เลยว่าหายาก เราขอแนะนำว่า การได้รับของที่เหมาะสมกับการใช้งานด้วยราคาที่ยุติธรรมเป็นทางออกที่ดีกับทุกฝ่าย เพราะของที่เหมาะสมมักดี ของดีที่ไม่เหมาะสมก็ไม่เกิดประโยชน์ ของถูกมักเป็นที่พอใจของผู้ซื้อในระยะแรกแต่จะสร้างปัญหาให้กับทุกฝ่ายในระยะต่อมามากต่อมากแล้ว การตรวจรับงานบนพื้นฐานการออกแบบที่ไม่เหมาะสม หากตัวแทนเจ้าของงานไม่มีความรู้เพียงพอที่จะยอมรับงาน โดยคิดว่าปรากฏการณ์วัสดุล่วง-หก-ตก-หล่น ก็เป็นเรื่องปรกติของระบบมันหกร่วงอยู่ภายใน ไม่มีคนเห็น ร่วงได้ก็ร่วงไป ใครเดือดร้อน  กระพ้อก็ขุด ก็ตัก ไป เรื่อยๆ จนงานเสร็จ  ส่วน Capacity ขาดไปบ้างก็ใช้เวลาทำงานเพิ่มให้มากขึ้นไปก็แล้วกันเวลาที่เสียไป “ใครแคร์” ในฐานะลูกจ้างรับรองได้เลยมีน้อยคนที่จะใส่ใจเรื่องอย่างนี้ให้นายจ้าง เพราะเจ้าของงานก็ไม่มีเวลามาดูแล และไม่ทราบรายละเอียดส่วนนี้แน่นอน ซึ่งความเสียหายเหล่านี้เหมือนเงินร่วง ตก-หล่น เต็มพื้นดินละลานตาไปหมด แต่ไม่มีใครมองเห็น เพราะมันไม่เคยถูกบันทึกเป็นระบบว่ามีค่าเท่าใด หรือ ไม่ปรากฏให้เห็นในระบบบัญชีแต่อย่างใด จึงไม่มีผู้ใดใส่ใจ ผลกระทบสุดท้ายก็จะตกเป็นของเจ้าของงานหรือเถ้าแก่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเรื่องที่เรากำลังนำเสนอนี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์กับผู้ออกแบบ และผู้ปฏิบัติงานแล้ว ยังเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของงานหรือเถ้าแก่ที่ต้องรู้ ควรอ่าน หาความรู้ใน website ของเราด้วย เถ้าแก่รุ่นใหม่ หนุ่มแน่น ฉลาดเป็นกรด มีมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องรับรู้เรื่องเหล่านี้ด้วย รับรองอ่านแล้วมีแต่ได้กับได้ มีเงินตกคืนในกระเป๋าเต็มๆแบบคุ้มค่าแน่ๆ

          ด้วยเหตุดังกล่าว บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จึงถือว่าเป็นภาระหน้าที่ของเราที่จะนำเสนอสิ่งดีๆที่เป็นสาระ สรรหาวิชาการที่เป็นเรื่องง่ายๆมารับใช้ทุกท่านที่สนใจและรับใช้องค์กรประเภท SME ในบ้านเราที่ องค์ความรู้หลายอย่างที่ยังพร่องอยู่ ตาม Motto การทำงานของเรา คือ ‘’Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน’’ ครับเราให้ Solution คุณมากกว่าจะเสนอขายของตะบี้ตะบัน เราบอกทุกเรื่องราวเกี่ยวกับสายพานที่คุณอยากรู้ เปิดทุกสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ อ่านแล้วชอบคำตอบอยู่ที่คุณเอง สงสัยสิ่งใดสอบถามได้เลยครับ

 

2.จุดประสงค์ต่อผู้อ่านเรื่องนี้

          จุดประสงค์ของการนำเสนอเรื่องนี้ก็เพื่อให้ ช่างเทคนิค หรือ Young Engineer สามารถมี Guide line การออกแบบที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคำนวณ การเลือกใช้ ระบบสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) จับมาใช้งานได้ง่ายๆ คัดสรรมาแต่เรื่องแบบชิวๆ  เรื่องเหล่านี้อาจจะไม่ได้เรียนในขณะที่เป็นนักศึกษา หรือได้เรียนแต่ไม่ได้สนใจ หรือ อาจารย์ไม่ได้สอน แต่พอมาทำงานแล้วมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้เหล่านี้ทำมาหากิน ถามใครก็ไม่ถนัดนัก ในใจก็กลัวคนอื่นเขาจะดูถูกว่าเราโง่ กลัวเสียเหลี่ยม ถามลูกพี่ที่ โรงงานก็ไม่ตอบ-อมภูมิ-ไม่รู้- หรือหากบอกแล้ว กลัวเราเก่งกว่าก็ไม่อาจประเมินได้ (ผู้เขียนเห็นว่า เราไม่ควรอับอายที่จะถามคนอื่นเพื่อความรู้ เพราะคนที่รู้ตนว่าตัวเองไม่รู้ คือความงามของการไม่รู้เช่นกัน) ส่วนท่านที่เป็น Senior Engineer หรือเป็น Engineer ที่ฉลาด หัวแหลมยิ่งกว่าจรวจ ความรู้ ภาษาไทยยอด ภาษาอังกฤษเยี่ยม พูดฉะฉาน อ่านเป๊ะเวอร์ ไม่ต้องเสียเวลามาอ่านครับ ข้ามไปได้เลย เพราะท่านสามารถ ถามไถ่กับอาจารย์กู(Google) ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านร่างทรงของบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดเลยยิงตรงไปเลยได้ผลดีกว่า สำหรับท่านที่มีประสบการณ์สูงจะแนะนำ สิ่งที่เราขาดตกบกพร่องเราก็จะน้อมรับด้วยความยินดียิ่งขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

 

 3.Design Roadmap

              เนื่องจากการออกแบบ-คำนวณ มีมากมายหลาย Approach เปรียบได้กับคำกล่าวที่ว่า “หากเราพูดถึงประเทศอินเดียไม่ว่าเราจะนิยามประเทศอินเดียอย่างถูกต้องว่าอย่างไร สิ่งที่เป็นเรื่องตรงข้ามก็มักจะเป็นความจริงด้วยเช่นกัน” การคำนวณก็เช่นกันมีหลายรูปแบบ มารูปแบบไหนก็ใช้ได้กันหมด เพียงแต่เราต้องมีความรู้พื้นฐานเพื่อสนับสนุนการใช้วิจารณญาณเลือกให้ถูกต้องเท่านั้นเอง เราจะขอยกมานำเสนอ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะแบบ เปิดตารางและแบบการคำนวณทางทฤษฎี

     3.1 แบบ เปิดตาราง ซึ่งตารางเหล่านี้มีที่มาจากหลายแหล่ง ส่วนมากมาจากค่าย Europe และ USA ดังนั้นหน่วยที่ใช้จึงยังเป็น British Standard อยู่อาจจะอ่านยากหน่อยเพราะความไม่คุ้นเคย ผลลัพธ์ที่ได้มาอาจจะแตกต่างกันบ้างซึ่งมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่เมื่อท่านดูลึกลงไปในรายละเอียดก็จะสามารถทำความเข้าใจเองได้ เราได้นำเสนอให้ท่านเลือกใช้จาก 2 แหล่ง แบบเปิดตาราง1 และ เปิดตาราง 2  จาก 2 ค่าย จะได้เปรียบเทียบกัน และท่านยังสามารถเอาไปเปรียบเทียบกับการคำนวณที่ได้จากทางทฤษฎี(ที่เราจะนำเสนอในลำดับต่อไป)ได้อีกด้วย เพื่อความ Sure แล้วท่านสามารถใช้ Common Sense เลือกสิ่งที่เหมาะสมเอาเอง

           3.2 การคำนวณทางทฤษฎี ซึ่งมีแหล่งที่มาทั้งจาก Europe/USA/Japan เราเลือกจะนำเสนอการคำนวณของทางค่าย ญี่ปุ่น เพราะมีตัวแปรในการคำนวณน้อยกว่าค่าย Europe, USA มาก การคำนวณค่าย Europe, USA จะอ้างอิงCEMA เป็นหลัก ค่าย ญี่ปุ่นก็อ้างอิง Japanese Standard ส่วนผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างจนมีนัยยะสำคัญ เราจึงเลือกนำเสนอของง่ายๆ

 

4.Case Study ตัวอย่างการคำนวณแบบเปิดตาราง (แบบที่ 1)

                    4.1) โจทย์  จงออกแบบระบบสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) ตามข้อมูลที่ให้ข้างล่างนี้

                                 1. Material:  Crushed Bituminous Coal, 1/2 inch size

                                  2. Weight (หรือ Bulk density): 50 Lb. / Cu. Ft.

                                  3. Capacity: 70 TPH.

                                  4. Shaft center: 65 Ft. (Distance between center of Drive Shaft and Boot Shaft)

                    4.2) Solution: ง่ายนิดเดียวมีแค่ 4 Steps

 Step 1. เลือก Type ของกระพ้อ เลือกจาก Table 1

 

 

เลือกได้ Elevator Type ได้ Type1 กับ Type 7

 

Step 2. หาค่า Volume Capacity เพื่อเลือก Elevator Type ว่าจะใช้ Type1 กับ Type 7

Volume Capacity = 70x2, 000/50 = 2,800 Cu.Ft/Hour (1 Ton= 2,000 Lb.)

  •       Table 2 : Type 7 คือ กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบต่อเนื่อง (Continuous Discharge Elevator) ค่ามากที่สุดใน ตารางคือ 2,340 < 2,800 Cu.Ft/Hour น้อยกว่าค่า Volume Capacity ที่ต้องการ  ไม่สามารถใช้ได้ ตัดทิ้งไปเลย

       Ø  Table 3: Type1 คือ กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) เลือก Elev. No. 152,    Volume Capacity = 3,039 > 2,800 Cu.Ft / Hour OK.

เราได้อะไรจาก Table 3

 Step 3. เลือกกำลังม้า

จาก Elev. No. 152, ค่า Weight: 50 Lb. / Cu. Ft. และ Shaft Center = 65 Ft., เลือกกำลังม้าได้ 15 H.P และ เส้นผ่าศูนย์กลางของเพลา Drive Pulley ได้ 2-15/16 นิ้วเราได้อะไรจาก Table 3

Step 4. ตารางที่ 5 เลือกความหนาของเหล็กและระยะต่างๆของส่วนประกอบของต้นกระพ้อ ก็ได้ข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการแล้วไปทำ Detail Design เพื่อผลิตได้เลย ให้พยายามดูเอาเองนะครับ

Step 5ทบทวนตรวจสอบค่าต่างๆที่เลือกไว้ กับข้อกำหนดของกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) ที่เคยเขียนไว้ในบทความของเราว่าสอดคล้องกันหรือไม่ เนื่องจากเราได้ค้นคว้า อ้างอิงมาจากหลายสำนักค่าต่างๆจึงอาจจะแตกต่างกันบ้างก็ไม่ต้องแปลกใจ ความแตกต่างเป็นความงามอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ประโยชน์จากมุมมองที่ต่างกันนั้นๆได้อย่างไร เอ๊า เริ่มตรวจสอบกันได้เลย

1.วัสดุที่ลำเลียงจะเป็นประเภทเม็ดเล็กๆมีวัสดุก้อนใหญ่ (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว-ตำราบางเล่มระบุแค่ 25 มม.) ปะปนในสัดส่วนที่น้อย (<10%)

(ค่าที่เลือก Material:  Crushed Bituminous Coal, 1/2 inch size < 2 inches…OK.)

2.ความเร็วที่ใช้กับกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) จะเร็วกว่าแบบอื่นๆ (ที่ต้องเร็วก็เพราะต้องการมีแรงเหวี่ยงวัสดุออกให้หมด) อยู่ในช่วง 70-125 M/Min.

(ค่าที่เลือก Head pulley Diameter 30 Inch, Belt Speed ที่เลือก 298 FPM < 305 FPM….. OK.)

           เนื่องจากในประเทศไทยเราใช้กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) กับ ผลผลิตทางการเกษตรมากเช่นกันเราจึงนำเสนอความเร็วที่ใช้กับ วัสดุที่เป็นเม็ด (Grain) เพื่อใช้อ้างอิงตามตารางข้างล่าง

 “อ้างอิง Goodyear Handbook of conveyor and Elevator Belting”

3.ในทางปฏิบัติควรเผื่อความกว้างของสายพานให้มากกว่า ความกว้างของลูกกระพ้อดังนี้

     เพิ่ม 1 นิ้ว สำหรับความกว้างของสายพานน้อยกว่า 15 นิ้ว

     เพิ่ม 2 นิ้ว สำหรับความกว้างของสายพานมากกว่า 15 นิ้ว

(ค่าที่เลือก ความกว้างของลูกกระพ้อ 18 นิ้ว ความกว้างของสายพาน 18 +2 นิ้ว  ...OK)

 บทความเดิมๆนำมาต่อท้ายเพื่อ ให้อ่านเข้าใจได้ต่อเนื่องไม่ต้องสลับหน้าอ่านไป-มา

 1.1 กระพ้อลำเลียง (Bucket Elevator) คืออะไร?

  1.2 ประเภทของสายพานกระพ้อลำเลียง (Types of Bucket Belt Elevator)

 

          ประเภทของสายพานกระพ้อลำเลียง (Types of Bucket Belt Elevator) หากแบ่งตาม ระยะห่างระหว่างลูกกระพ้อ (Bucket Spacing) และ ลักษณะของการจ่ายวัสดุ (Mode of Discharge) จะแบ่งได้ 3 แบบ คือ

           กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) กระพ้อลำเลียงแบบนี้ จะติดลูกกระพ้อบนสายพาน (Belt) หรือโซ่ (Chain) ห่างกันเป็นช่วงๆ (Regular Pitch) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลูกกระพ้อกระทบกระทั่งกันขณะลูกกระพ้อรับ (Load) หรือจ่าย (Discharge) วัสดุ กระพ้อลำเลียงแบบนี้ส่วนมากจะทำงานในแนวดิ่ง และวัสดุที่ลำเลียงจะเป็นประเภทเม็ดเล็กๆมีวัสดุก้อนใหญ่ (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว-ตำราบางเล่มระบุแค่ 25 มม.)ปะปนในสัดส่วนที่น้อย ( <10%)  มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเมล็ดน้อย แห้ง ค่อนข้างไหลง่ายๆ(Free Flow) เช่นเมล็ดผลิตผลทางการเกษตร ข้าง ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือ ถ่านหิน ทราย น้ำตาล เกลือ สารเคมี หรือชนิดเป็นผงเช่น  ผงปูนซีเมนต์ ผงยิบซั่ม เหตุที่วัสดุลำเลียงต้องมีขนาดเล็ก (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว) ก็เพื่อไม่ให้ลูกกระพ้อเสียหายง่ายเกินไปขณะที่ขุด/ตัก (Dig/Scoop)วัสดุ วัสดุจะถูกป้อนเข้าสู่ด้านล่าง(Boot) ทางรางป้อน Loading Leg (ตำแหน่งอยู่เหนือ Center lineของ Boot Pulley 10-15 ซม.) ลูกกระพ้อจะขุด/ตัก (Dig/Scoop) วัสดุและจะถูกลำเลียงไปยังส่วนหัว(Head)ที่เป็นตำแหน่งจ่าย(Discharge) วัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge)

 

ลูกกระพ้อขณะที่ขุด/ตัก (Dig/Scoop) วัสดุ

  

แสดงส่วนหัว (Head) ที่เป็นตำแหน่งจ่าย (Discharge) วัสดุ

          ความเร็วที่ใช้กับกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) จะเร็วกว่าแบบอื่นๆ (ที่ต้องเร็วก็เพราะต้องการมีแรงเหวี่ยงวัสดุออกให้หมด) อยู่ในช่วง 70-125 M/Min. จะไม่เหมาะสมกับขนาดวัสดุที่ใหญ่กว่า 50 มม. (ตัก/ขุดยาก) และจะไม่เหมาะสมกับวัสดุที่เป็นผงที่ละเอียดกว่าตะแกรงเบอร์ 200 เนื่องจากจะเกิดฝุ่นมาก (Aerated) วัสดุเกิดการสูญเสีย และปัญหาวัสดุติด (Jam) ได้เอง เนื่องจากวัสดุที่เป็นผงขนาดเล็กมีคุณสมบัติเฉพาะค่อนข้างอ่อนไหวง่ายเช่น เหนียวขึ้น หรือร่วนเมื่อความชื้นเปลี่ยนแปลง

  TIPSวิธีสังเกตว่า วัสดุใดใช้ระบบกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) ลำเลียงได้ คือ ถ้าวัสดุนั้นสามารถใช้พลั่วตักขึ้นด้วยมือได้ง่ายๆ วัสดุนั้นสามารถใช้กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) ได้

 รูปแสดงการจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator)

          1.2.2.กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบต่อเนื่อง (Continuous Discharge Elevator) จะติดลูกกระพ้อบนสายพาน(Belt)หรือโซ่(Chain) โดยลูกกระพ้อ จะติดกันต่อเนื่องไม่ให้มีช่องว่าง กระพ้อลำเลียงแบบนี้ส่วนมากจะทำงานในแนวดิ่ง ใช้ลำเลียงวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มม.ได้ (วิ่งช้า) วัสดุจะถูกป้อนเข้าสู่ ลูกกระพ้อโดยตรง(จะไม่ขุด/ตัก (Dig/Scoop) ทางรางLoading Leg หรือ Chute (ตำแหน่งอยู่เหนือ Center line ของ Boot Pulley 50-65 ซม.) ซึ่ง Chute จะมีขนาดใกล้เคียงและมีระยะชิดใกล้ลูกกระพ้อมากที่สุดเพื่อให้มีช่องว่างน้อยที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้วัสดุตกลงไปที่ส่วนล่าง(Boot) ของต้นกระพ้อ ควรทำสะอาดส่วนล่าง(Boot) ของกระพ้ออย่างสม่ำเสมอ เพราะหากวัสดุตกลงและกองสะสมที่ด้านล่างมากขึ้นจะทำให้ลูกกระพ้อ ขุด/ตัก วัสดุทำให้ตัวกระพ้อเสียหาย (เพราะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานแบบนี้) ได้ง่ายและสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่มีประโยชน์ ส่วนวัสดุเหมาะสมกับการลำเลียงจะเป็นประเภทเม็ดเล็กๆ แต่ขนาดใหญ่ขึ้นหน่อยก็ยังใช้ได้ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อย แห้ง ค่อนข้างไหลง่ายๆ(Free Flow) เช่นเมล็ดผลิตผลทางการเกษตร ข้าง ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือ ถ่านหิน ทรายน้ำตาล เกลือ สารเคมี ชนิดเป็นผงเช่น  ผงปูนซีเมนต์ ผงยิบซั่ม ความเร็วในการขนถ่ายจะน้อยมากวัสดุจะถูกลำเลียงไปยังส่วนหัว(Head)ที่เป็นตำแหน่งจ่าย(Discharge) โดยวัสดุจะไหลผ่านผนัง(ทำหน้าที่คล้ายเป็น Moving Chute ในตัว) ด้านบนของลูกกระพ้อตัวก่อนหน้า ที่เพิ่งจ่ายวัสดุออกไปจนหมด แล้วไหลไปยัง Fixed Chute ที่รับวัสดุอีกทอดหนึ่ง


ลูกกระพ้อติดกันต่อเนื่องไม่ให้มีช่องว่าง

           ความเร็วที่ใช้กับกระพ้อลำเลียงแบบจ่ายวัสดุแบบต่อเนื่อง (Continuous Discharge Elevator) จะช้า อยู่ในช่วง 30-50 M/Min. ใช้ลำเลียงวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มม.ได้ ถ้าวัสดุที่ไหลยากขึ้นหน่อย ต้องปรับความเร็วของกระพ้อให้ต่ำลงเพื่อให้วัสดุมีเวลามากขึ้นที่จะไหลออกจากลูกกระพ้อจนหมด เนื่องจากกระพ้อลำเลียงแบบนี้ มีความเร็วน้อยจึงเหมาะสมที่จะลำเลียงวัสดุที่แตกหักง่าย (Fragile) และ เป็นผง เนื่องจากไม่ฟุ้งกระจายเกิดฝุ่นมาก (Aerated) เกินไป และวัสดุไม่สูญเสีย และไม่เกิดปัญหาวัสดุติด (Jam)

     1.2.3.กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบ Positive กระพ้อลำเลียงแบบนี้ เหมือนกับกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) เช่นลูกกระพ้อจะขุด/ตัก (Dig/Scoop) วัสดุที่ด้านล่าง (Boot) และจะถูกลำเลียงไปยังส่วนหัว (Head) ที่เป็นตำแหน่งจ่าย (Discharge) แต่จะแตกต่างกันอยู่ 2 จุดคือ 1. ลูกกระพ้อจะติดห่างกันเป็นช่วงๆ(Regular Pitch) บนโซ่ (Chain) 2 เส้น 2.มีล้อกดใต้ Head Pulley เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อลูกกระพ้อจะคว่ำเมื่อเคลื่อนที่ผ่าน Head Pulley สามารถจ่าย (Discharge) วัสดุออกได้อย่างหมดจด (ไม่ได้จ่าย วัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง) วัสดุที่ลำเลียงจะเป็นประเภทเม็ดเล็กๆ (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว) มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อย แห้ง ไหลง่ายๆ (Free Flow) น้ำหนักเบา (Light) หรือนิ่ม (Soft) ความเร็วที่ใช้กับกระพ้อลำเลียงแบบจ่ายวัสดุแบบ Positive ประมาณ 36 M/Min

       สรุป เมื่ออ่านมาถึงตอนนี้ ท่านผู้อ่านลองไปตรวจสอบว่า กระพ้อของท่านเข้าข่ายเป็นประเภทใด จากนั้นตรวจสอบว่าวัสดุที่ลำเลียงเป็นอะไร มีความเร็วตามที่บทความนี้ได้อ้างอิงไว้หรือไม่ (ความเร็วจะเกี่ยวข้องกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของPulley ด้วยจะนำเสนอภายหลัง) TIPS เล็กๆน้อยๆดูตามข้างล่างนี้ได้เลย

          1.หากมีวัสดุก้อนใหญ่ (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว-ตำราบางเล่มระบุแค่ 25 มม.)ปะปนในสัดส่วนที่น้อย ( <10%) ใช้กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) ได้

          2.หากมีวัสดุก้อนใหญ่ (เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว-ตำราบางเล่มระบุแค่ 25 มม.)ปะปนในสัดส่วนที่น้อย ( >10%) กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบต่อ                   เนื่อง (Continuous Discharge Elevator)

          3.ถ้าวัสดุมีการกัดกร่อนสูง(High Corrosive) ใช้สายพานเป็นตัวกลางลำเลียง หรือถ้าเป็นโซ่ต้องชุบแข็ง ใช้ Stainless Pin ตัวลูกกระพ้ออาจจะ              ต้องใช้เป็นวัสดุAlloy

           4.ถ้าวัสดุเปียกหรือแฉะ (Wet or Damp) ควรใช้ กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบต่อเนื่อง (Super Continuous Bucket) ที่มีโซ่คู่ ติดลูกกระพ้อแบบ 

          5.การเลือกขนาดของลูกกระพ้อให้เหมาะสมกับขนาดของวัสดุ (Lump Size) ลูกกระพ้อควรมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของวัสดุ (Lump Size) อย่าง              น้อย 4 เท่า เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุหลุดล่วงขณะทำงาน

          6.ในทางปฏิบัติไม่ควรใช้สายพานที่มีชั้นผ้าใบอย่างน้อยน้อย  4 ชั้นแม้จะเป็นการทำงานเบาๆก็ตาม

           7.ในทางปฏิบัติควรเผื่อความกว้างของสายพานให้มากกว่า ความกว้างของลูกกระพ้อดังนี้

                      เพิ่ม 1 นิ้ว สำหรับความกว้างของสายพานน้อยกว่า 15 นิ้ว

                      เพิ่ม 2 นิ้ว สำหรับความกว้างของสายพานมากกว่า 15 นิ้ว      

     8.ข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับเลือกว่าจะออกแบบกระพ้อว่าจะเป็นประเภทไหน ดูตามตารางข้างล่าง

           บทความประเภทนี้เราจะนำเสนอท่านอย่างสม่ำเสมอ ขอฝากท่านไว้ด้วยว่าหากท่านจะกรุณาอุดหนุนสินค้าของเรา เพื่อให้เรามีเรี่ยวแรงแสวงหาความรู้มาแบ่งกันอย่างต่อเนื่อง และทำให้เราเดินต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคงก็จะขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง สินค้าเราที่มีจำหน่ายที่เกี่ยวเนื่องกับกระพ้อลำเลียง (Bucket Elevator) มี 3 อย่างคือ

           Back Stop หรือเรียกอีกอย่างว่า“Hold Back” เป็นอุปกรณ์ ป้องกันสายพานไหลกลับ เมื่อมอเตอร์หยุดกะทันหัน ใช้ในระบบสายพานลำเลียง(Belt Conveyor) โซ่ลำเลียง (Chain Conveyor) รวมถึงกระพ้อลำเลียง(Bucket Conveyor) ที่มีทิศทางในการลำเลียงขึ้น (Incline) ท่านที่เป็นเจ้าของโครงการหรือเป็นเจ้าของโรงงานหรือ End User ควรจะแจ้งให้ผู้ทำเครื่องจักรติดตั้ง Back Stop ตั้งแต่เริ่มออกแบบได้เลย เพราะผู้รับเหมาเขาจะไม่ติดตั้งให้ท่านแน่นอน ผ่านเวลาค้ำประกัน 1 ปีไปแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นของท่านไม่ใช่ของเขา ยังไงก็คุ้มค่ากว่ากันเยอะ ท่านที่ต้องการใช้งาน ไม่ต้องออกแบบเอง ไม่ต้องเขียนแบบเอง อ่านบทความของเราท่านก็เลือกเองได้ หากไม่ทราบ โทรหาวิศวกรของเรา ทุกคำถามมีคำตอบให้ครับ จัดเต็มแบบว่าให้ท่านสะดวกที่สุด  


Back Stop หรือเรียกอีกอย่างว่า“Hold Back”

  สายพานกะพ้อ (Bucket Elevator Belting)แบบ Solid Woven ยังไม่มีการผลิตในประเทศไทย แต่หาได้ที่นี่


          โครงสร้างแบบ Solid Woven ยืดตัวต่ำมากๆ (ปรกติประมาณ 0.5 -0.7 % ของ Rated Tension) ไม่ต้องตัด-ต่อ สายพานบ่อยๆ

          ทราบหรือไม่ว่าสายพานกะพ้อแบบผ้าใบ EP ธรรมดาที่ท่านใช้อยู่ ณ.ขณะนี้ ยืดตัวได้ตอนใช้งาน 2%-4% ต้องตัด-ต่อ บ่อย ขาดง่าย ชั้นสายพานแยกจากกัน แต่สายพานกะพ้อผ้าใบ แบบ Solid Woven ยืดตัวต่ำมากๆ (ปรกติประมาณ 0.5 -0.7 %ของ Rated Tension) มีความเสถียรสูงไม่ต้องตัด-ต่อ สายพานบ่อยๆ หรือไม่ต้องตัดเลยตลอดการใช้งาน(หากระยะ Take Up มากพอ)   ชั้นสายพานทอเป็นมัด ไม่มีการแยกชั้น ใช้ Bolt ยึดกับลูกกะพ้อได้แน่นมากสายพานไม่ฉีกขาด ทนสุดๆอยากได้ของพิเศษอย่างสายพานกะพ้อแบบSolid Woven ก็ต้องสอบถามบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดเท่านั้น เพราะเราชอบ หาของดี ทำงานยากๆที่คนอื่นไม่อยากทำ และเราก็เชื่อว่าเราทำได้ดี สายพานกะพ้อ (Bucket Elevator Belting) แบบSolid Woven คนรู้เรื่องมีน้อย จึงไม่ปรากฏให้เห็น ถ้าใช้แล้วจะติดใจ เลิกคิดถึงของเดิมๆที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้  ลองดูครับไม่ได้โฆษณา แต่ท้าให้ลอง ให้ Solution คุณมากกว่าขายของ บอกทุกเรื่องราวเกี่ยวกับสายพานที่คุณอยากรู้ เปิดทุกสิ่งที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ อ่านแล้วชอบคำตอบอยู่ที่คุณเอง สอบถามได้เลยครับ

         Conveyor Belt Pulley ทั้งมู่เล่ แบบ Standard ผิวเรียบ จะทำ Crown (หลังเต่า) หรือไม่ทำ Crown ก็ได้ Pulley หุ้มยางใช้ได้กับระบบสายพานลำเลียงและกระพ้อลำเลียง

        น๊อตและ Bolt กระพ้อ และประกับ (Fastener)ต่อสายพาน แบบ Light Duty สำหรับสายพาน Tension Rating (Max ) 800 N/mm  

  

           สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา เพราะเรามี Motto การทำงานคือ ‘’Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน’’ ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม