การสั่งซื้อ Back Stop

   มาเริ่มกันที่บทความแรกของเรากันเลยนะครับหากท่านมีข้อสงสัยอะไรก็ตาม ปรึกษาเราได้ทันที ตามช่องทางต่างๆด้านล่างครับ ในโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันผู้ผลิตในทุกๆภาคส่วนอุตสาหกรรมต่างประดิษฐ์ สร้างสรรค์สินค้าและบริการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอย่าง สะดวก รวดเร็ว และสามารถหาคำตอบได้อย่างง่ายไม่ต้องเสียเวลาศึกษาวิธีการใช้ที่ยุ่งยากเหมือนในอดีต หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น การคำนวณทางด้าน วิศวกรรม ในอดีตต้องใช้มือ คิดคำนวณกันล้วนๆถึงแม้บางครั้งจะใช้ Computer ช่วยก็ต้องเรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมเฉพาะใช้กันอย่างยากเย็นแต่เดี๋ยวนี้ มีผู้เขียนโปรแกรมต่างๆเหล่านี้มาให้เราใช้กันอย่างสะดวกสบาย  Back Stop ของ Conveyor Guide ก็เช่นบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด พยายามออกแบบการเลือกใช้และการสั่งซื้อให้ง่าย และสะดวกที่สุดขณะเดียวกันก็ต้องสามารถอ้างอิงได้ตามหลักวิศวกรรม เอาเป็นว่าหากท่านสั่งซื้อ Back Stop รับรองว่าง่ายกว่าการไปเลือกซื้อปลาตามท้องตลาด ก็แล้วกันครับมาดูกันดีกว่า ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็นในการสั่งซื้อ Back Stop เพื่อไม่ใช้ผิด Spec ผิดขนาด สั่งซื้อไปแล้วไม่เกิดปัญหาสามารถประกอบใส่เข้ากับระบบได้อย่างพอดี โดยไม่มีปัญหา

  1. เลือกรุ่นหรือ Series ของ Back Stop ที่เหมาะสมกับระบบลำเลียงนั้นๆ
  2. ขนาด Size ความโตรูของเพลา Back Stop โดยต้องมีขนาดความโตตาม Range ของ Back Stop Series นั้นๆ
  3. ขนาดร่องลิ่มหากไม่เป็นไปตามมาตรฐาน (ISO Standard) หรือตาม Keyway & End Plate Dimensions ก็ให้แจ้งขนาดที่ต้องการเพื่อทำการผลิตตามนั้น
  4. หากต้องการติดตั้ง End Cap ควรระบุตำแหน่งการรูเจาะและขนาดของเกลียวของ End Cap ที่ชัดเจนมาให้ด้วย (ในกรณีไม่เป็นไปตามมาตรฐาน)

เพียงแค่ท่านระบุรายละเอียดมาตามข้างต้นท่านก็จะได้ Back Stop ที่มี Spec ถูกต้อง คุณภาพดีและราคา ยุติธรรม แล้วครับ

Example

กรณีที่1

  ระบบลำเลียงต้องการใช้ Back Stop ซึ่งคำนวณได้แรงบิด(Torque)ในระบบ 1478 N.m และรู Diameter ปลายเพลาสำหรับใส่ Back Stop ขนาด 50 mm ต้องเลือกใช้ Back Stop Series   CG 15 ซึ่งสามารถรองรับแรงบิด(Torque)ในได้ถึง 1500 N.m และสามารถรองรับเพลาขนาด 30 - 60 mm  ในส่วนของลิ่ม ร่องลิ่มและ End Plate ก็จะมีขนาดตาม Keyway & End Plate Dimensions Sheet

สรุปในกรณีนี้จะต้องแจ้ง Series ของ Back Stop และ ขนาดของ Shaft ที่จะนำ Back Stop ไปสวมก็เพียงพอแล้วครับ

กรณีที่2

  ระบบลำเลียงซึ่งคำนวณแรงบิด(Torque)ในในระบบแล้วได้ 775 N.m.ขนาดเพลาสำหรับใส่ Back Stop โต 35 mm. ต้องเลือกใช้ Back Stop Series   CG 08 ซึ่งสามารถรองรับแรงบิด(Torque)ในได้ถึง 800 N.m และสามารถรองรับเพลาขนาด 25 - 40 mm. ในส่วนของลิ่ม,ร่องลิ่มและ End Plate นั้นหากในกรณีที่ของเดิม (Shaft) ไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็ต้องกำหนด ขนาดของ H,B,T2,B1และD3 ตาม Keyway & End Plate Sheet มาให้ด้วย

Remark: Keyway & End Plate Sheet See Menu Download

 

 

และอีกข้อที่สำคัญในการเลือกซื้อคือต้องรู้ขนาดของ Torque เสียก่อนเพื่อความสะดวกสบาย เรามาดูกันต่อเลยแล้วกัน 

การคำนวณ หา Torque เพื่อเลือกขนาดของ Back Stop ในระบบลำเลียงสามารถ ได้ 2 วิธีคือ

วิธีที่ 1 .จากแรงบิด (Torque) ที่เกิดขึ้นจริงในระบบสายพานลำเลียง
วิธีที่ 2 .จากแรงบิดสูงสุดที่ทำให้มอเตอร์หรือต้นกำลังหยุด (Break Down)

 การคำนวณและเลือก Back Stop จากวิธีแรกนั้นเป็นการคำนวณหาแรงบิดสูงสุด (Maximum Torque) ที่เกิดขึ้นจริงจากความสามารถในการลำเลียงวัสดุของระบบลำเลียงนั้นๆ ซึ่งในทางปฏิบัติที่หน้างานจริงจะมีข้อจำกัดบางประการทำให้วิธีนี้ไม่เหมาะสมนัก บริษัท Conveyor Guide จำกัดใคร่ขอแนะนะการคำนวณ ในวิธีที่ 2 ด้วยเหตุผล 3 ประการดังนี้

  1. ในหลายกรณีจะพบว่าผู้ออกแบบหรือผู้ผลิตระบบลำเลียงส่วนมากมักจะเลือกต้นกำลังขับ ที่ใช้กำลังงานมากเกินกว่าความต้องการของระบบจริงๆ เหตุผลก็เพื่อการรับประกันว่าจะได้อัตราการขนถ่ายตามต้องการโดยไม่มีปัญหาด้านกำลังขับ อธิบายให้ข้าใจลึกเข้าไปอีกก็คือ ในการคำนวณกำลังขับของระบบลำเลียงนั้นผู้ออกแบบสามารถกำหนดเงื่อนไข การใช้ค่าแรงเสียดทาน (Friction) คำนวณกำลังขับในระบบต่างๆกันไป เช่น หากผู้ออกแบบเลือกค่า Friction ในการคำนวณน้อย  เลือก Motor และ Bearing อย่างดีกำลังขับของระบบที่คำนวณได้ก็จะน้อย ในการใช้งานจริงในช่วงแรกอาจจะไม่เกิดปัญหาแต่เมื่อ การใช้งานจริงไปซักระยะหนึ่งแล้วจะพบว่า Factor ต่างๆนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เช่น สิ่งสกปรกพอกตามจุดหมุนต่างๆ  อัตราการขนถ่ายมากขึ้น อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆชำรุดไม่ได้ซ่อมแซม รวมถึงการติดอุปกรณ์บางตัวเข้าไปในระบบ พูดง่ายๆก็คือระบบลำเลียงขาดการดูแลปัญหาที่ตามมาก็คือค่า  Friction จะเพิ่มขึ้นมากกว่าการคำนวณในตอนต้นมาก มอเตอร์หรือต้นกำลัง Trip หรือบางกรณีก็ไม่หมุนเลย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้ผู้ออกแบบหรือผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่เลือกขนาดมอเตอร์มากกว่าที่ระบบ
  2. ถึงแม้ว่าจะมีการเลือกมอเตอร์โดยอ้างอิงจากแรงบิดที่เกิดขึ้นจริงในระบบแล้ว (วิธีที่ 1) ก็ตามหากมีการลำเลียงวัสดุที่มากจนเกินไป (Over Load) จากค่าที่ออกแบบไว้ มอเตอร์ก็ยังสามารถสร้างแรงบิด (Stall Torque) เพื่อให้สามารถลำเลียงวัสดุต่อไปได้โดยที่ motorไม่ Trip ค่า Percent Stall Torque ของ Motor ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของมอเตอร์นั้นๆจะเห็นว่าหากคำนวณเลือก Back Stop ในวิธีแรกก็ยังมีโอกาสที่ Back Stop จะเสียหายเนื่องจากการขนถ่ายวัสดุ Over Load จากค่าที่ออกแบบไว้
  3. การคำนวณและเลือกใช้ Back Stop โดยวิธีแรงบิดสูงสุดที่ทำให้มอเตอร์ (วิธีที่ 2) หรือต้นกำลังหยุด (Break Down) นั้น มีขั้นตอน สูตร และตัวแปรต่างๆที่คงที่ การคำนวณที่ไม่ซับซ้อน จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไป

หากท่านผู้อ่านท่านใดต้องการทราบขั้นตอนกาคำนวณหาแรงบิดของระบบลำเลียง ในแบบที่หนึ่งก็สามารถแจ้งรายละเอียดมาที่ Banyad@conveyorguide.co.th ได้นะครับ

 

Maximum Breakdown or Stalled Torque

 

 

 % of Normal Motor Rating 

 

 Service Factor (SF) 

                 175%

          1.00

                 200%

          1.15

                 225%

          1.30

                 250%

          1.50

 

สูตรและตัวอย่างการคำนวณ

Stall Torque Rating Method Calculation

Torque of Back Stop (N.m.) ≥ Motor Name Plate (Kw.) x 9550 x SF /Shaft Rotation (RPM.)

METRIC MODE

Torque of Back Stop (N.m.) ≥ Motor Name Plate (Hp.) x 7118 x SF /Shaft Rotation (RPM.)

 

ENGLISH MODE

Example METRIC MODE

ระบบโซ่ลำเลียงลำเลียง Wood Ship ขึ้นในแนว 25 องศาโดยใช้ Motor ขนาด 30 Kw, Normal Motor Rating 200 % และเพลาขับซึ่งใช้สวมกับ Back Stop หมุนด้วยความเร็ว 47 รอบ/นาที

                   Torque         = 30 x 9550 x 1.15 /47
                                      = 7010 N.m
Back Stop Selection CGN 80 Series (Torque 8000 N.M.)

Example ENGLISH MODE

ระบบสายพานลำเลียงเศษพลาสติกใช้มอเตอร์ขนาด 10 HP เป็นต้นกำลังขับและเพลาหมุนด้วยความเร็ว 59 รอบ/นาที Normal Motor Rating 225 %

                   Torque         = 10 x 7118 x 1.30 /59 
                                      = 1568 N.m
Back Stop Selection CGN 16 Series (Torque 1600 N.M.)