การคำนวณหา Torque เพื่อเลือก Series ของ      Back Stop

การคำนวณหา Torque เพื่อเลือกขนาดของ Back Stop ในระบบลำเลียงสามารถ ได้ 2 วิธีคือ

วิธีที่ 1 .จากแรงบิด (Torque) ที่เกิดขึ้นจริงในระบบสายพานลาเลียง

          การคำนวณและเลือก Back Stop จากวิธีแรกนั้นเป็นการคำนวณหาแรงบิดสูงสุด (Maximum Torque) ที่เกิดขึ้นจริงจากความสามารถในการลำเลียงวัสดุของระบบลำเลียงนั้นๆ ซึ่งในทางปฏิบัติที่หน้างานจริงจะมีข้อจำกัดบางประการทาให้วิธีนี้ไม่เหมาะสมนักจึงขอข้ามไปก่อน

วิธีที่ 2 .จากแรงบิดสูงสุดที่ทำให้มอเตอร์หรือต้นกำลังหยุด (Break Down) บริษัท Conveyor Guide จากัดใคร่ขอแนะนำให้ใช้การคำนวณ นี้ด้วยเหตุผล 3 ประการ

          1.ในหลายกรณีจะพบว่าผู้ออกแบบหรือผู้ผลิตระบบลำเลียงส่วนมากมักจะเลือกต้นกำลังขับที่ใช้กำลังงานมากเกินกว่าความต้องการของระบบจริงๆ เหตุผลก็เพื่อการรับประกันว่าจะได้อัตราการขนถ่ายตามต้องการโดยไม่มีปัญหาด้านกำลังขับ อธิบายให้เข้าใจลึกเข้าไปอีกก็คือ ในการคำนวณกำลังขับของระบบลำเลียงนั้นผู้ออกแบบสามารถกำหนดเงื่อนไข การใช้ค่าแรงเสียดทาน (Friction) คำนวณกำลังขับในระบบต่างๆ กันไป เช่น หากผู้ออกแบบเลือกค่า Friction ในการคำนวณน้อย เลือก Motor และ Bearing อย่างดีกำลังขับของระบบที่คำนวณได้ก็จะน้อย ในการใช้งานจริงในช่วงแรกอาจจะไม่เกิดปัญหาแต่เมื่อใช้งานจริงไปซักระยะหนึ่งแล้วจะพบว่าปัจจัย ( Factor ) ต่างๆ นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เช่น สิ่งสกปรกพอกตามจุดหมุนต่างๆ อัตราการขนถ่ายมากขึ้น(Over Load) อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆชารุดไม่ได้ซ่อมแซม รวมถึงการติดอุปกรณ์บางตัวเข้าไปในระบบ พูดง่ายๆ ก็คือระบบลำเลียงขาดการดูแลปัญหาที่ตามมาก็คือค่า Friction จะเพิ่มขึ้นมากกว่าการคำนวณในตอนต้นมาก มอเตอร์หรือต้นกำลัง Trip หรือบางกรณีก็ไม่หมุนเลย ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ผู้ออกแบบหรือผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่เลือกขนาดมอเตอร์มากกว่าที่ระบบต้องการ

          2.ถึงแม้ว่าจะมีการเลือกมอเตอร์โดยอ้างอิงจากแรงบิดที่เกิดขึ้นจริงในระบบแล้ว (วิธีที่ 1) ก็ตามหากมีการลำเลียงวัสดุที่มากจนเกินไป (Over Load) จากค่าที่ออกแบบไว้ มอเตอร์ก็ยังสามารถสร้างแรงบิด (Stall Torque) เพื่อให้สามารถลำเลียงวัสดุต่อไปได้โดยที่ motor ไม่ Trip ค่า Percent Stall Torque ของ Motor ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของมอเตอร์นั้นๆจะเห็นว่าหากคำนวณเลือก Back Stop ในวิธีแรกก็ยังมีโอกาสที่ Back Stop จะเสียหายเนื่องจากการขนถ่ายวัสดุ Over Load จากค่าที่ออกแบบไว้

          3.การคำนวณและเลือกใช้ Back Stop โดยวิธีแรงบิดสูงสุด (วิธีที่ 2) ที่ทำให้มอเตอร์ หรือต้นกำลังหยุด (Break Down) นั้น มีขั้นตอน สูตร และตัวแปรต่างๆ ที่คงที่ การคำนวณที่ไม่ซับซ้อน จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยทั่วไป

Maximum Breakdown or Stalled Torque

 

สูตรและตัวอย่างการคำนวณ

Stall Torque Rating Method Calculation (สูตร)

►METRIC MODE

►ENGLISH MODE

Example: METRIC MODE

          ระบบโซ่ลาเลียงลาเลียง Wood Ship ขึ้นในแนว 25 องศาโดยใช้ Motor ขนาด 30 Kw Normal Motor Rating 200 % และเพลาขับซึ่งใช้สวมกับ Back Stop หมุนด้วยความเร็ว 47 รอบ/นาที

          Torque         = 30 x 9550 x 1.15 /70

                             = 4706 N.m

          เลือก Back Stop Selection CGN 60 Series (Torque 6000 N.M.)

Example: ENGLISH MODE

          ระบบสายพานลาเลียงเศษพลาสติกใช้มอเตอร์ขนาด 10 HP เป็นต้นกาลังขับและเพลาหมุนด้วยความเร็ว 59 รอบ/นาที Normal Motor Rating 225 %

          Torque         = 30 x 5250 x 1.30 /59

                             = 1157 lb.ft or 1568 N.m

เลือก Back Stop Selection CGN 16 Series (Torque 1600 N.M.)

*สามารถเลือก Back Stop Series ได้ที่ Menu Download > Back Stop Series & Dimensions

หมายเหตุ: หากท่านผู้อ่านท่านใดต้องการทราบขั้นตอนกาคำนวณหาแรงบิดของระบบลาเลียงใน (วิธีที่ 1) ก็สามารถแจ้งรายละเอียดมาที่ Banyad@conveyorguide.co.th ได้นะครับ