10) การติดตั้งสายพานกระพ้อและการต่อสายพานลำเลียง

        บริษัท XXXX จำกัด เป็นโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประสบปัญหาระบบสายพานลำเลียงเกิดไฟไหม้ มีความต้องการให้ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด เข้าตรวจสอบและซ่อมแซมระบบสายพานดังกล่าว ซึ่งหลังจากทางทีมงานเข้าทำการตรวจสอบพบว่า สายพานดังกล่าวลำเลียงวัสดุเป็นขี้เลื่อยไม้ซึ่งมีการอบให้ความร้อน มีเชื้อไฟจึงทำให้เกิดความร้อนสะสมเป็นผลทำให้เกิดไฟไหม้ 

      

รูปที่ 1 ระบบลำเลียงถูกไฟไหม้

รูปที่ 2 สายพานที่ถูกไฟไหม้

 

บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ได้ติดตั้งและเปลี่ยนระบบสายพานจำนวน 2 ชุด ดังนี้

                1.) สายพานกระพ้อ ขนาดหน้ากว้างสายพานเท่ากับ 18 นิ้ว ยาว 22 เมตร

                2.) สายพานยางดำชนิดทนความร้อน 120°C ขนาดหน้ากว้างสายพานเท่ากับ 26 นิ้ว ยาว 18 เมตร

 

1.วิธีการติดตั้งสายพานกระพ้อ

การติดตั้งสายพานกระพ้อมีขั้นตอนดังนี้

      ติดตั้งลูกกระพ้อบนสายพานวัดตำแหน่ง เจาะรูสำหรับยึดลูกกระพ้อกับสายพาน โดยการนำลูกกระพ้อมาทาบกับสายพานและทำการมาร์คตำแหน่งรูลงบนสายพาน 

 

รูปที่ 3 วัดตำแหน่งเพื่อหาระยะเจาะรูสำหรับยึดลูกกระพ้อกับสายพาน

 

         เจาะรูสายพานตามตำแหน่งที่มาร์คไว้โดยระยะการติดตั้งลูกกระพ้อต้องตามตำแหน่งเดิม

 

 

รูปที่ 4 เจาะรูสายพานตามตำแหน่งที่มาร์คไว้

 

  •  นำสายพานที่เจาะรูเรียบร้อยแล้วนำมาใส่ในต้นกระพ้อและต่อปลายสายพานเข้าด้วยกันด้วยวิธีการต่อแบบเทพพนม 

รูปที่ 5 การต่อสายพานแบบเทพพนม

 

  • ติดตั้งลูกกระพ้อที่เหลือ เมื่อประกอบสายพานเข้าในต้นกระพ้อเรียบร้อยแล้ว ทำการติดตั้งลูกกระพ้อเข้ากับสายพานโดยใช้น็อตชนิดพิเศษกันคลายซึ่งใช้สำหรับยึดลูกกระพ้อโดยเฉพาะ

 

รูปที่ 6 ติดตั้งลูกกระพ้อเข้ากับสายพาน

 

  • เมื่อติดตั้งสายพานลูกกระพ้อเสร็จเรียบร้อย เดินเครื่องปรับตั้งให้สายพานวิ่งเป็นแนวตรง
  • ตรวจสอบการทำงานของสายพานทั้งระบบให้พร้อมใช้งาน
  • คืนพื้นที่ให้เจ้าของงาน

รูปที่ 7 ลักษณะสายพานกระพ้อพร้อมใช้งาน

 

2.วิธีการต่อสายพานลำเลียง

สายพานยางดำชนิดทนความร้อนพิเศษ ขนาดหน้ากว้างสายพานเท่ากับ 26 นิ้ว ยาว 18 เมตร

การต่อสายพานแบบร้อนมีขั้นตอนดังนี้

  • ทำการเปิดผ้าใบและลอกผ้าใบชั้นแรก ชั้นที่ 2 , 3 ออกตามลำดับ โดยลักษณะการลอกจะเป็นแบบขั้นบันได 

รูปที่ 8 การเปิดผ้าใบและลอกชั้นผ้าใบ

 

  • ขัดผิวยางออกให้เห็นชั้นผ้าใบโดยใช้มอเตอร์ขัดผ้าทราย

 

รูปที่ 9 การขัดผิวผ้าใบตามชั้นผ้าใบและบริเวณขอบด้านข้าง

 

  • นำสายพานเข้าสู่ระบบลำเลียง 

 

รูปที่ 10 วัดสายพานให้มีความยาวที่พอดีกับระบบลำเลียง

 

  •  จัดปรับเซนเตอร์ไลน์ให้ปลายสายพานทั้งสองเส้นให้ตรงกัน จากนั้นทากาว และติดยาง Intermediate ทิ้งไว้ให้แห้งหมาดๆ แล้วนำหัวสายพานทั้งสองข้างมาประกบกัน ใช้ค้อนยางทุบให้ทั่วเพื่อให้สายพานติดกันสนิทก่อนนำขึ้นเตาต่อสายพาน

     

รูปที่ 11 ทากาวและติดแผ่นยาง Intermediate

 

  • ทำการประกอบเตาต่อสายพาน โดยให้สายพานอยู่ในแผ่นให้ความร้อน จากนั้นล็อกสายพานให้แน่น ทำการอัด Pressure โดยมีแรงอัด และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเตาต่อสายพานให้อุณหภูมิอยู่ที่ 160 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เมื่อให้ความร้อนครบ 30 นาทีแล้ว ให้หยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า และทำการ Cooling โดยปล่อยให้อุณหภูมิเย็นตัวลงตามธรรมชาติให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 75 องศาเซลเซียส จึงทำการปล่อย Pressure และรื้อเตาต่อออก คือเสร็จขั้นตอนการต่อสายพาน 

รูปที่ 12 ประกอบเตาต่อสายพานและอบสายพาน

 

  • หลังจากที่ทำการต่อสายพานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำการปรับตั้งให้สายพานวิ่งเป็นแนวตรง และทำการตรวจสอบการทำงานของสายพานทั้งระบบให้อยู่ในลักษณะพร้อมใช้งาน

       ท้ายที่สุดนี้ บริษัท  คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co.Ltd.) ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจติดตามอ่านผลงานและสนับสนุนสินค้าของเรา เราสัญญาว่า จะนำเสนอเรื่องราวดีๆมีประโยชน์มาให้ท่านได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เราจะตอบสนองท่านอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หยุดนิ่ง เราไม่เคยทำงานลวกๆ หรือลดระดับการปฏิบัติงานของตนเอง เราทราบวิธีและมีความสามารถ ที่จะสร้างความเรียบง่ายบนความซับซ้อน อยากใช้เราก็ติดต่อเราครับ ง่ายนิดเดียว สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดมาทาง E-mail จะสะดวกมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด “ไม่รู้จักในไลน์ ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆน่ารัก รีบทักเลย เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนา ให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่วยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้ อะไรที่แบ่งๆกันได้และไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ ‘’Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน...แลกเปลี่ยน...เรียนรู้ ร่วมกัน’’ ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม” “ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกันใหม่ครับขอบคุณที่ติดตาม