7) ความเป็นมาของปัญหาสายพานกระพ้อ

          ท่านที่เคยทำงานเกี่ยวกับสายพานลำเลียงคงรู้จักสายพานกระพ้อเป็นอย่างดี  ประมาณว่าไม่ต้องมีอะไรมาพูดถึงอีก แต่พออ่านบทความชิ้นนี้ของบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จบลง อาจจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ มาทบทวนความรู้หรือประสบการณ์ เรื่องสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่ผ่านมาว่าแท้จริงแล้วที่เราใช้งานสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) อยู่ทุกวันนี้ได้สายพานกระพ้อที่ดีเหมาะสมกับเงินที่จ่ายไปแล้วหรือยัง ทางเลือกที่ดีกว่านี้มีอีกหรือไม่? บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ก็ขอแชร์ประสบการณ์ร่วมกับท่านผู้อ่านหน่อยก็แล้วกันครับ

ต้นกระพ้อ (Bucket Elevator)

 

          เท่าที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดได้พบเห็นและมีประสบการณ์ตรงในการซ่อมแซมและเปลี่ยนสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) มาเราพบว่า มากกว่า 95 %ของสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่ใช้กันเป็นแบบประยุกต์จากสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) มาเป็นสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ไม่ใช่ว่าสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) ไม่ดีหรือใช้ไม่ได้นะครับ ใช้ได้ (แต่มีปัญหาบ้างท่านที่ใช้งานอยู่คงรู้ดี ) แต่ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆที่น่าพิจารณาอีก เช่นน้อยคนนักที่ทราบว่าสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting)ที่เป็นสายพานกระพ้อจริงๆเหมาะสมกว่าที่ท่านใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่แต่ไม่เคยใช้  บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด จึงทำหน้าที่แจ้งข่าวให้เป็นทางเลือกแก่ท่านที่ผ่านมาอ่าน website นี้ได้ทราบ รับรองว่าอ่านแล้วได้อะไรติดตัวไปแน่ๆ ใช้วิจารณญาณของท่านพิจราณาเองว่าจะเชื่อข้อมูลของเราได้มากน้อยแค่ไหน เรื่องแบบนี้ มุสากันไม่ได้ง่ายๆเพราะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์พิสูจน์ข้อเท็จจริงกันได้ 

            กลับมาที่ 5 % ที่เหลือของสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) นั้นส่วนมากจะใช้เป็นสายพานที่ถักทอแบบ Solid Woven ซึ่งจะติดมากับเครื่องจักรตั้งแต่ครั้งแรกที่นำเครื่องจักรเข้ามาจากต่างประเทศ เรียกว่าเป็นเรื่องพิเศษที่พวกเราไม่ค่อยคุ้นเคยกันก็ได้ (ส่วนที่ใช้ Steel Cord เป็นสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) เรายังไม่ปรากฏเห็นมากนักในประเทศไทย)

           มี Case Study มาเล่าสู่กันฟัง เมื่อเดือน มีนาคม2556 ที่ผ่านมา บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนลูกค้ารายหนึ่งที่ใช้งานสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่จังหวัดระยอง ลูกค้ารายนี้พาเราไปสำรวจสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่มีอยู่หลายต้น แล้วถามว่า ทำไมสายพานที่ติดมากับเครื่องจักร จากต่างประเทศใช้งานมา 10 ปีแล้ว ยังไม่เคยเปลี่ยน หรือตัดต่อแต่อย่างใด? ผิดกับต้นกระพ้อที่ทำเองในประเทศไทยแม้สร้างทีหลัง(ใช้สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ที่ผลิตในประเทศ) ต้องตัดต่อสายพานทุกๆ ปีครึ่งหรือ 2 ปี เป็นประจำ ทำให้เสียเงินและเวลามากมาย มีคำแนะนำหรืออะไรที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่านี้หรือไม่?

          เมื่อ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ได้เข้าไปสำรวจหน้างานก็พบว่าสายพานที่ติดมากับเครื่องจักร จากต่างประเทศนั้นเป็นสายพานที่ถักทอแบบ Solid Woven ตามSpecification ที่โรงงานต่างประเทศให้มาดังนี้

                ส่วนสายพานที่ ต้องตัด-ต่อทุก ปีครึ่งหรือ 2 ปี เป็นประจำนั้นเป็นสายพานกระพ้อธรรมดา (Multi Ply Belt) หรือคล้ายกับสายพานลำเลียงที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทยเราส่วนเหตุผลที่ต้องตัด-ต่อ-เปลี่ยน บ่อยๆ จะเป็นอย่างไรนั้น ขอให้ท่านติดตามอ่านต่อไป

 

                สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) แบบ Solid Woven เป็นสายพานที่ติดมากับเครื่องจักร จากต่างประเทศใช้งานมา 10 ปีแล้วไม่เคยได้ตัดต่อเลย

สายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) ต้องตัดต่อสายพานทุก ปีครึ่งหรือ 2 ปี และต้องเปลี่ยนใหม่บ่อยๆ

1.ชนิดของสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) 

          สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) มีมากมายหลายชนิด แต่ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทยราจะเป็นสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt) และใช้ในต่างประเทศจะเป็นสายพานที่ถักทอแบบ Solid Woven ความแตกต่างกันเป็นอย่างไรขอให้ราณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้

         1.1) การถักผ้าใบ(Fabric) ที่ใช้ทำสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) 

         1.1.1.) สายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt)  ผ้าใบจะถักแบบธรรมดาเรียบง่าย(Plain Weave) คือมีด้ายถัก 2 ด้าน ด้านยาว(Warp) และด้านขวาง(Weft) ถักขึ้น-ลง กันไป-มาคล้ายรูป Sine Wave เป็นสายพานที่เรากันว่า ผ้าใบ EP ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันใช้กันเป็นสายพานลำเลียง เนื้อผ้าใบของสายพานแบบนี้จะหลวมและไม่แน่นเท่าใดนักทำให้เมื่อสายพานรับน้ำหนักจะยืดตัวได้สูง

                                                           

ถักแบธรรมดา(Plain Weave) 

 

โครงสร้างของผ้าใบในสายพานลำเลียงธรรมดา (Multi Ply Belt)

 

           1.1.2.) สายพานลำเลียงถักแบบด้ายตรง(Straight Warp) คือมีด้ายถัก 2 ด้านยาว(Warp)วิ่งตรงๆเป็นด้ายหลักรับ Tension และมี Fill Yarns และ Binder warp ถักไขว้ขึ้น-ลง กันไป-มาสลับกัน การถักแบบนี้ทำให้สายพานมีคุณสมบัติคล้ายกับคาน(Beam)มีความเสถียรสูง(High Stability) มีความแน่นสูง การยืดตัวต่ำ ขาดยาก ขอบข้างไม่เปื่อยยุ่ยง่ายทนต่อแรงกระแทก มีความแข็งแรงด้านขวางสูงใช้กับงานประเภททนแรงดึงสูง ทนการกระแทกสูง และราคาก็สูงตามคุณภาพไปด้วย

 

การถักแบบด้ายตรง(Straight Warp)

 

                                                  

ผ้าใบรับแรงถักแบบ Straight Warp (SW) แข็งแรงมาก

 

          1.1.3.) สายพานลำเลียงถักแบบ Solid Woven คือการปรับปรุง( Modify ) การถักแบบด้ายตรง(Straight Warp)ให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นโดยเพิ่มชั้นการถักแบบตรง(Straight Warp)ให้มากกว่า 1 ชั้น แล้วใช้ด้ายตามแนวขวางถักมัดให้แน่นเป็นก้อนเดียวกัน ดังนั้นการถักแบบSolid Woven จึงมีความเสถียรสูง(High Stability) มีความแน่นสูง ตัวผ้าใบของสายพานล็อกกันเป็นก้อนเดียวกัน ในสภาพการใช้งานปรกติขอบข้างไม่แยกชั้น ไม่หลุดลุ่ย( Fray )(เพราะการถักผ้าใบเป็นก้อนเดียวกัน)เป็นแข็งแรงมากใช้ Boltยึดกับลูกกระพ้อได้แข็งแรงขาดยาก

                                                   

 ถักแบบ Solid Woven Belt ผ้าใบหลายชั้นแต่ล็อกกันเป็นก้อนเดียวแข็งแรงมาก

 

         สายพานลำเลียงถักแบบ Solid Woven (Solid Woven) การยืดตัวต่ำมากๆ (ปรกติประมาณ 0.5 -0.7 % ของ Rated Tension) ขาดยาก ทนต่อแรงกระแทก มีความแข็งแรงด้านขวางสูง ที่ต่างประเทศใช้เป็นสายพานลำเลียงในสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่นในเหมืองถ่านหินใต้ดิน (Under Ground Mining) ที่บ้านเรายังผลิตกันไม่ได้ เท่าที่ทราบผู้ผลิตในประเทศไทยไม่เคยกล่าวถึงสายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting)แบบ Solid Woven เลย   อาจจะไม่ได้ผลิตหรือกลัวเสียตลาดสายพานแบบธรรมดาที่ใช้กันอยู่ก็ได้ ขณะที่ต่างประเทศมีการใช้งานอย่างกว้างขวางแม้ในประเทศจีนที่เรามักดูเขาด้วยสายตาที่แปลความหมายว่ายังไม่พัฒนาเท่าใดนัก ก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติการยืดตัวต่ำอย่างนี้นอกจากจะใช้กับงานหนักๆแล้ว ยังเหมาะสมจะ ทำสายพานกระพ้ออย่างยิ่ง เพราะ การยืดตัวต่ำมากๆ (ปรกติประมาณ 0.5 -0.7 % ของRated Tension) จึงมีความเสถียรสูงไม่ต้องตัดสายพานบ่อยๆ หรือไม่ต้องตัดเลยตลอดการใช้งาน และใช้ Bolt ยึดกับลูกกระพ้อได้แน่นมาก ขาดยาก ทนสุดๆ

 

2. สายพานกระพ้อแบบSolid Woven ดีกว่าสายพานแบบธรรมดา (Multi Ply Belt) อย่างไร?

           2.1 ) สายพานกระพ้อแบบSolid Woven มีคุณสมบัติการยืดตัวต่ำกว่ามาก

                   (ปรกติประมาณ < 0.5 -0.7 % ของ Rated Tensionขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต) ลองสมมุติตัวเลขกันดูหน่อยเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า ต้นกระพ้อสูง 20 เมตร สายพานจะยาวประมาณ 42 เมตร การยืดตัวเมื่อใช้งาน 0.5 % เท่ากับ 21 ซม. สมมุติว่ามีระยะ Take Up30 ซม. (ปรับความตึงสายพานได้ยาว 2 เท่าคือ  60 ซม.)จะเห็นว่า ระยะปรับตึงมีมากมายเพียงพอ และจากการปรับตรึงครั้งแรกแล้วแทบไม่ต้องปรับ Take up เลยตลอดเวลาของการใช้งาน ขณะที่สายพานกระพ้อ (Bucket Elevator Belting) ธรรมดาแบบ (Multi Ply Belt) จะมีการยืดตัว 2-4 % ของ Rated Tension  (ประมาณ 1.72 เมตร) คำนวณเอาเองก็แล้วกันว่าต้องตัดต่อกันกี่ครั้ง และหากยืดมากขนาดนี้ก็ต้องเปลี่ยนสายพานแล้วเพื่อความปลอดภัย

   สายพานกระพ้อแบบ Solid Woven มีลักษณะการถักของผ้าใบหลายๆชั้นมัดให้แน่นเป็นก้อนเดียวกัน จึงมีความเสถียรสูง(High Stability) มีความหนาแน่นสูงดังนั้นจึงไม่ต้องตัด-ต่อ-เปลี่ยนสายพานบ่อยๆ ราคาค่าเปลี่ยนสายพานเริ่มต้นที่หลักแสนบาทหรือหลายแสนเป็นต้นไป นอกจากนี้ยังทำให้โรงงานเสียโอกาสในการผลิตอีกด้วยเรียกว่าเสียกันหลายต่อทีเดียว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของผู้ใช้งานต้องพิจารณาให้ดีว่า จะจ่ายสูงหน่อยตอนเริ่มต้นแต่สบายนาน หรือจ่ายแต่น้อย ลำบากมากขึ้นทั้งด้านงานและความเสียหายต่อเนื่อง(Associated Loss) ในเวลาต่อมา เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากว่าส่วนมากแล้วผู้ใช้งานซึ่งมักจะเป็นฝ่ายช่างเป็นผู้เสนองาน ตอนเริ่มต้นความคิดแบบเดิมๆคืออยากได้แต่ของราคาถูกๆ เป็นผลงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ผิด เพราะตัวเลขเหล่านี้จะบันทึกเป็นรายจ่าย ใครๆเห็นง่าย เวลาเสนอเจ้านายไม่เป็นที่ระคายสายตาจะอนุมัติให้ซื้อง่าย เมื่อซื้อมาแล้วหากเสียก็ซ่อมกันไป ไม่มีใครว่าเพราะทุกคนก็เห็นว่ามันเสียจริงๆ ส่วนค่าเสียเวลา ค่าเสียโอกาสจากการผลิต เพราะต้องหยุดงานเพื่อซ่อมสายพานตัวเลขเหล่านี้ ไม่ปรากฏให้เห็นทางด้านบัญชีก็ช่างหัวมัน ไม่มีใครสนใจหรอก เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องของเราทั้งๆที่ค่าเสียหายเหล่านี้มีค่ามากกว่าค่าสายพานดีๆสักเส้นมากนัก สำหรับบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัดขอแนะนำว่าหากท่านที่เป็นช่างอยากทำงานให้เข้าตาเจ้านาย ต้อง Up Grade ความคิดหรือลูกกระพ้อ


  • 1.jpg
    ทำไม?...Cover ลอกออกง่าย 1. สายพานกระพ้อ Solid Woven เหมือนกัน....ทำไม ถึงต่างกัน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 วิศวกรของเราได้ออกพบลูกค้าหน้างาน ลูกค้าได้สอบถามว่าทำไม Cover...

  • เรื่องที่ 1. สายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator)คืออะไร? 1.) กระพ้อลำเลียง (Bucket Elevator)คืออะไร? กระพ้อลำเลียง (Bucket Elevator)คือ เครื่องมือในการขนถ่ายวัสดุ...

  • TIPSและส่วนประกอบของสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator)มีอะไรบ้าง? ภาพด้านข้างของกระพ้อลำเลียง(Bucket Elevator) บทนำกระพ้อลำเลียง (Bucket Elevator)เป็นอุปกรณ์ขนถ่ายที่ใช้...

  • 14.jpg
    การออกแบบกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator Design) เปิดตาราง (แบบที่ 1) บทนำ เมื่อมีลูกค้าต้องการได้ระบบสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator)สักต้นหนึ่ง ลูกค้าก็จะติดต่...

  • 18.jpg
    การออกแบบกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator Design) เปิดตาราง (แบบที่ 2) บทนำ เมื่อมีลูกค้าต้องการได้ระบบสายพานกระพ้อลำเลียง (Bucket Belt Elevator) สักต้นหนึ่ง ลูกค้าก็จะติดต่อบร...

  • 7.jpg
    บริษัท XXXX จำกัด เป็นโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประสบปัญหาระบบสายพานลำเลียงเกิดไฟไหม้ มีความต้องการให้ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด เข้าตรวจสอบและซ่อมแซมระบบสายพานดังกล่าว ...

  • สายพานกระพ้อ(Solid Woven Belt )ผ่านกรรมวิธีด้วยการนำชั้นผ้าใบถักทอพิเศษแบบชั้นเดียว (Single Ply )แล้วทำให้อิ่มตัวด้วยPVC ,Pre-stressขณะอบสายพานจึงมีความเสถียรสูง ยืดตัวน้อย เนื้อสา...

  • 18(1).jpg
    กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบต่อเนื่อง (Continuous Discharge Elevator)จะติดลูกกระพ้อบนสายพาน(Belt)หรือโซ่(Chain)โดยลูกกระพ้อ จะติดกันต่อเนื่องไม่ให้มีช่องว่าง กระพ้อลำเลียงแบบ...

  • 44.jpg
    บริษัท XXXX จำกัด เป็นโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประสบปัญหาระบบสายพานลำเลียงเกิดไฟไหม้ มีความต้องการให้ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด เข้าตรวจสอบและซ่อมแซมระบบสายพานดังกล่าว ...

  • 1 (1).JPG
    วัันนี้ทีมงาน Conveyor Guide ขอพาทุกท่านมาชมการเปลี่ยนสายพาน กระพ้อกันว่ามีขั้นตอนการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง โดยใช้ลูกกระพ้อจากสายพานเส้นเดิม ย้ายมาติดบนสายพานเส้นใหม่ 1.ปรับTake ...